การผลิตปุ๋ยและสารปรับปรุงดินจากแหล่งแคลเซียมธรรมชาติเพื่อเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ เขตทุ่งกุลาร้องไห้

1,132 VIEW

องค์ความรู้

การผลิตสารปรับปรุงดินสูตรอุดมสมบูรณ์

สรุปองค์ความรู้

การผลิตสารปรับปรุงดินสูตรอุดมสมบูรณ์ การผลิตสารปรับปรุงดินสูตร อุดมสมบูรณ์ มีสารประกอบ 10 ชนิด ในหนึ่ง สูตร คือ ยิปซัม ดีเกลือ แคลเซียมไนเตรท แมกนีเซียมไนเตรท แคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมฟอสเฟต แคลเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมอะซิเตท แมกนีเซียมอะซิเตท โดยนอกจากจะเป็นสารปรับปรุงลักษณะกายภาพของดินให้มีความร่วนซุ่ย อุ้มน้ำ จับกันเป็นก้อนของเม็ดดิน ยังสร้างความอุดสมบูรณ์ คือให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช หลายธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน พร้อมทั้งกรดอินทรีย์ คือ กรดอะซิติก ที่สามารถยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดปัญหา เรื่องโรครากเน่า โคนเน่าของต้นข้าวได้ เมื่อใช้สารปรับปรุงดินนี้แล้ว จึงช่วยเกษตรกรลดปริมาณปุ๋ยเคมีลง ทาให้ประหยัดต้นทุนเรื่องปุ๋ยได้ โดยวิธีการใช้และฉลากคู่มือการใช้ ดังรูป P1_RLH30008 ภาพ ฉลากวิธีการใช้สารปรับปรุงดิน P2_RLH30008 P3_RLH30008 P4_RLH30008 ภาพ กรรมการผลิตสารปรับปรุงดิน วิธีการใช้ที่เหมาะสม วิธีที่ 1 การหว่านหรือโรยทั่วแปลงนา ในปริมาณ 50-100 กก./ไร่ หรือการผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 100 กก. ต่อปุ๋ย 500 กก. แล้วนำไปหว่านหรือโรยทั่วนา จำนวน 50-100 กก./ไร่ จากนั้นค่อยไถกลบหรือไถพรวน วิธีที่ 2 หากเมื่อได้ทำการหว่านข้าวไปแล้ว (ปกติเกษตรกรทำนาหว่าน) ก็ให้นำสารปรับปรุงดินที่ผลิตได้นั้น ไปหว่าน ให้ทั่วพื้นนาได้เลย โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม เพราะเมื่อมีน้ำ สารปรับปรุงดินจะละลายซึมลงดินอย่างช้า เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชและช่วยปรับสภาพกายภาพของดินได้ด้วย P5_RLH30008 P6_RLH30008 ภาพ การเตรียมดินหลังจากการใส่สารปรับปรุงดิน

ช่องทางการติดต่อ

ผศ.ดร.บรรจง บุญชม (หัวหน้าโครงการ)
165 ม.3 ต. คลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด…จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33160
เบอร์ติดต่อ: 02329-8400-8411 ต่อ 290, 02329-8000 ต่อ 6234 เบอร์โทรสาร: 02329-8415
E-mail: kbbanjon@kmitl.ac.th