การปรับปรุงคุณภาพดิน
P1_RLH20017 การปรับปรุงคุณภาพดิน ตัวชี้วัดที่สำคัญของดินเสื่อมโทรม ได้แก่ - ดินมีอินทรียวัตถุต่ำ อาจเห็นได้จากดินชั้นบนไม่ค่อยดำ และไม่ร่วน - ดินมีธาตุอาหารพืชต่ำ (ดินจืด) - เกิดการกร่อนของดิน เนื่องจากการสูญเสียดิน - ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น - ดินมีสัตว์และจุลินทรีย์ในดินลดลง P2_RLH20017 P3_RLH20017 P4_RLH20017 การปรับปรุงดินควรใช้อินทรียวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น เศษเหลือจากการเกษตรทั้งพืช และสัตว์ ส่วนที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และการนำเศษซากต่างๆ ผ่านกระบวนการหมัก (ปุ๋ยหมัก) เป็นต้น หลักการเลือกใช้อินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงดิน คุณภาพซากอินทรีย์เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการซากอินทรีย์แต่ละชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตของพืชที่ปลูกมากที่สุด ดังนั้นจึงมีการจำแนกคุณภาพซากอินทรีย์ P5_RLH20017 การแบ่งวัสดุอินทรีย์ตามชนิดของพืช พืชตระกูลถั่ว และไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว ซึ่งจะมีปริมาณธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบแตกต่างกัน โดยธาตุอาหารหลักที่มีผลต่อการเป็นประโยชน์ของวัสดุอินทรีย์ คือ ไนโตรเจน ซึ่งจะมีผลต่อค่า C/N ratio หากค่า C/N ratio ต่ำ แสดงว่ามีปริมาณไนโตรเจนสูงเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับปริมาณของคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบในวัสดุอินทรีย์นั้นๆ ซึ่งจะทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารสูงทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มักพบในพืชตระกูลถั่ว เช่น ครามขน ถั่วลิสง มะขาม และกระถินยักษ์ เป็นต้น (ภาพที่ 2.23)ในทางตรงกันข้าม หากค่า C/N ratio สูง แสดงว่ามีปริมาณคาร์บอนสูงกว่าปริมาณไนโตรเจนมาก ซึ่งจะทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่ำโดยเฉพาะในระยะแรกของการใส่วัสดุอินทรีย์ลงในดินซึ่งทำให้พืชแสดงอาการขาดได้ซึ่งมักพบในพืชที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว ตัวอย่างเช่น ฟางข้าว ใบอ้อย และใบยูคาลิปตัส เป็นต้น P6_RLH20017 การแบ่งวัสดุอินทรีย์ตามชั้นคุณภาพ P7_RLH20017 คุณภาพชั้นที่ 1: สามารถใส่ลงในดินเพื่อให้ปลดปล่อยไนโตรเจนได้อย่างรวดเร็ว เป็นวัสดุอินทรีย์ที่มีปริมาณไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง แต่มีปริมาณลิกนิน และโพลีฟีนอลส์ต่ำ ตัวอย่างเช่น ครามขน จามจุรี และกระถินยักษ์ 1) คุณภาพชั้นที่ 2: ผสมปุ๋ยเคมีหรือวัสดุอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงเป็นวัสดุอินทรีย์ที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงแต่มีปริมาณลิกนิน และโพลีฟีนอลส์สูง ตัวอย่างเช่น ใบสะเดา 2) คุณภาพชั้นที่ 3: ผสมกับปุ๋ยเคมีหรือทำปุ๋ยหมักเป็นวัสดุอินทรีย์ที่มีปริมาณไนโตรเจนไม่สูงแต่มีปริมาณลิกนิน และโพลีฟีนอลส์สูง ตัวอย่างเช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ปริมาณไนโตรเจนไม่เพียงพอต้องเสริมด้วยปุ๋ยเคมีหรือนำไปทำปุ๋ยหมักเพื่อช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ในช่วงระยะแรกไม่ทำให้พืชแสดงอาการขาด 3) คุณภาพชั้นที่ 4: ให้ใส่คลุมดินเพื่อป้องกันการกัดกร่อนเป็นวัสดุอินทรีย์ที่มีปริมาณไนโตรเจน ลิกนิน และโพลีฟีนอลส์สูง ตัวอย่างเช่น มะขาม ใบพลวง ซึ่งจะทนต่อการย่อยสลายจึงทำให้คงอยู่ในดินได้นาน P8_RLH20017 P9_RLH20017 P10_RLH20017 P11_RLH20017 P12_RLH20017
ผศ.ดร. เสาวคนธ์ เหมวงษ์ (หัวหน้าโครงการ)
สาขาวิชาพืชศาสตร์
คณะเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 103 หมู่ 3 ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000
โทรศัพท์ 08 8572 1525โทรสาร 0 4254 3122
e-mail : saowakon@hotmail.com
เบอร์ติดต่อ: 08 8572 1525
โทรสาร 0 4254 3122
E-mail: saowakon@hotmail.com