การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และการใช้ถ่านชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้ในครัวเรือน และการผลิตพืช

3,017 VIEW

องค์ความรู้

ถ่านชีวภาพเพื่อครัวเรือน

สรุปองค์ความรู้

P1_RLH20016 การผลิต และการใช้ถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ การทำเตาเผาถ่านโดยใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร (ทั้งแบบแนวนอน และแนวตั้ง) สามารถเก็บน้ำส้มควันไม้นำไปใช้ในทางการเกษตรได้ มีส่วนประกอบและขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ส่วนประกอบของเตาเผาถ่าน ประกอบด้วย - ถังน้ำมันหรือถังเหล็กขนาด 200 ลิตร - ข้องอฉากใยหินขนาด 4 นิ้ว - ท่อตรงใยหินขนาด 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร - อิฐบล๊อค 5 ก้อน - อิฐแดง 1 ก้อน นำถังที่เปิดฝาด้านหน้า และเจาะรูด้านท้ายขนาด 5 นิ้ว มาวางไว้ตรงกลางระหว่างเสาค้ำยัน โดยให้รูกลมที่เจาะอยู่ด้านล่างใช้อิฐแดงรองถังใช้กระเบื้องหรือก่ออิฐบล๊อคเป็นแนวทำเป็นรั้วกันดินฉนวนโดยมีระยะห่างจากผนัง 20 เซนติเมตร P2_RLH20016 นำท่อข้องอใยหิน ประกอบกับตัวถังที่ช่องด้านท้าย ต่อข้องอด้วยท่อตรงใยหินยาว 1 เมตร ปักเสาเพื่อประคองท่อตรง และใช้ดินโคลนหรือปูนยารอยต่อระหว่างถังกับข้องอ และข้องอกับท่อตรง P3_RLH20016 ใช้เศษกระเบื้องปิดด้านข้างและท้ายถัง ให้มีลักษณะเป็นกล่อง และบรรจุดินเป็นฉนวนให้เต็ม วางไม้หมอนขวางเพื่อให้เกิดช่องอากาศด้านล่าง จัดเรียงไม้ที่ต้องการเผาเข้าเตาโดยให้ไม้ท่อนใหญ่อยู่ด้านบน ไม้เล็กอยู่ด้านล่าง P4_RLH20016 ใช้ฝาถังที่ตัดเป็นช่องแล้วปิดเตา โดยให้ช่องอากาศอยู่ด้านล่าง ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นช่องอากาศเข้า ยาแนวส่วนต่อทั้งหมด (รวมทั้งฝาถัง) ด้วยดินเหนียว โดยให้อากาศสามารถเข้าได้เฉพาะด้านหน้า และออกได้เฉพาะปล่องด้านหลัง ห้ามมีรอยรั่ว P5_RLH20016 P6_RLH20016 ขั้นตอนการเผาถ่าน และเก็บน้ำส้มควันไม้ เริ่มทำการจุดไฟ บริเวณหน้าเตาที่ห้องเผาไหม้ด้านหน้าค่อยๆ ใส่เชื้อเพลิง ความร้อนจะกระจายเข้าไปสู่ในตัวเตา เพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่อยู่ในเตาและเนื้อไม้ ช่วงนี้ควันที่ออกมาตรงปล่องควันจะเป็นควันสีขาว (ไอน้ำ) กลิ่นเหม็น P7_RLH20016 เผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา ลดการป้อน จนหยุดให้เชื้อเพลิง และควบคุมอากาศโดยการหรี่ช่องหน้าเตาเหลือสัก 2 นิ้ว P8_RLH20016 หลังจากหยุดป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา จะสังเกตสีของควันที่ปากปล่อง เป็นสีขาวอมเหลือง และมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ช่วงนี้ให้เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยให้หรี่หน้าเตาลงเหลือสัก 1 นิ้ว ให้อากาศเข้าและรักษาอุณหภูมิในเตาให้นานที่สุด จะได้น้ำส้มควันไม้มาก น้ำส้มควันไม้จะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นน้ำมันใส ชั้นกลางเป็นของเหลวใสสีชา คือ น้ำส้มควันไม้ ชั้นล่างสุดเป็นของเหลวสีดำข้น คือ น้ำมันดิน หากเอาผงถ่านมาผสม 5% โดยน้ำหนัก ผงถ่านจะดูดซับทั้งน้ำมันใส และน้ำมันดินที่แขวนลอยอยู่ให้ตกตะกอนไปชั้นล่างสุดเร็วขึ้น เพียงประมาณ 45 วัน การใช้ในการเกษตร เนื่องจากน้ำส้มควันไม้ที่มีความเข้มข้นสูงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รุนแรง เนื่องจากมีความเป็นกรดสูง และมีสารประกอบ เช่น เมทานอล และฟีนอล ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อได้ดี เมื่อนำมาเจือจาง 200 เท่า จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และต่อต้านเชื้อแบคทีเรียจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น เนื่องจากได้รับสารอาหารจากกรดน้ำส้ม น้ำส้มควันไม้จึงใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้ดี P9_RLH20016 P10_RLH20016 เมื่อควันกลายเป็นสีน้ำเงิน ให้เปิดหน้าเตา เพื่อให้อากาศร้อน เข้าไปไล่สารตกค้างในเตา และไม้จะเป็นถ่านบริสุทธิ์ โดยเปิดหน้าเตาครึ่งหนึ่ง ทิ้งไว้สัก 30 นาที เมื่อสีของควันมีสีฟ้าใสๆ แสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด สารตกค้างเหลือน้อย ให้ปิดหน้าเตาและปล่องให้สนิทด้วยดินเหนียว ไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งให้เย็น ประมาณ 8 ชม. จึงเปิดเอาถ่านออกมาใช้ได้ P11_RLH20016 การผลิต และการใช้เตาชีวมวลในครัวเรือน การผลิตเตาชีวมวลจากวัสดุรอบตัวที่มีราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน และลดต้นทุนการผลิต โดยได้แบ่งเตาชีวมวล ออกเป็น 2 แบบ คือ เตาชีวมวลสองชั้น และ เตานรก P12_RLH20016 เตาชีวมวลสองชั้น ส่วนประกอบ - ปี๊บ 1 ใบ ที่ไม่ต้องปิดฝา - ถังสีเหล็กไม่ใช้แล้ว - มีดปลายแหลม วิธีการทำ - นำถังสีเหล็กมาเจาะรูรอบๆๆ ให้ทั่วโดยแต่ละรูห่างกันประมาณ 5 เซนติเมตร - ปี๊บใช้มีดปลายแหลมเจาะรูเป็นรูปสีเหลียมผืนผ้า ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร สูงประมาณ 5 เมตร เพื่อเป็นที่สำหรับให้ขี้เถาออกมาจากเตา P13_RLH20016 - นำถังสีไปวางบนฝาด้านบนของปี๊บเพื่อวัดขนาด และทำการตัดปี๊บให้ได้ขนาดพอดีกับถังสีใส่ลงไปได้ซึ่งถังสีจะค้างอยู่บนปี๊บพอดี P14_RLH20016 วิธีการใช้เตาชีวมวล - นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ใบไม้ หรือกิ่งไม้ มาใส่ลงในส่วนของถังสีด้านในประมาณครึ่งถัง แล้วจุดไฟ - เมื่อไฟติดให้เติมเศษพืชลงไปทีละนิด ไฟจะติดเรื่อยๆ หากเป็นเศษพืชที่มีความชื้นสูงช่วงแรกจะควันเยอะ รออีกสักพักจะควันแถบไม่มี เนื่องจาก ควันถูกนำไปใช้ในการเผาไหม้อีกรอบ ทำให้ควันน้อย หากต้องการเพิ่มไฟให้แรงอีกก็ใส่เศษพืชลงไปหรือกิ่งไม้หักเป็นท่อนขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร ได้เรื่อยๆ ซึ่งความร้อนสามารถอยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง P15_RLH20016 เตานรก เตานรก เป็นเตาชีวมวลอีกแบบหนึ่ง การเรียกเตานรก เนื่องจากความร้อนที่ได้มีความร้อนสูงมาก และอยู่ได้นานประมาณ 6 ชั่วโมง ส่วนประกอบ - ปี๊บ 1 ใบ เปิดฝาด้านบนออก - กระป๋องกาแฟ หรือ กระป๋องปลากระป๋องที่เอาฝาหัวและท้ายออก - ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว สูงประมาณ 1 เมตร - มีดปลายแหลม P16_RLH20016 วิธีการทำและการใช้งาน - นำปี๊บที่เปิดฝาด้านบนออกแล้วมาเจาะรูปเป็นวงกลมขนาดเท่ากับกระป๋องกาแฟ หรือ กระป๋องปลากระป๋อง โดนเจาะด้านล่างของปี๊บสูงขึ้นมาจากก้นปี๊บประมาณ 10 เซนติเมตร - นำเอากระป๋องกาแฟใส่ไปที่ช่องที่เจาะไว้ โดยให้ปลายกระป๋องที่ใส่เข้าไปอยู่ส่วนกลางของปี๊บพอดี (ภาพที่ 14) - นำท่อ PVC ใส่ลงไปในปี๊บโดยให้ท่อชิดกับปลายกระป๋องพอดี - นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย หรือใบไม้ นำมาเทใส่ลงไปในช่องวางที่เหลือระหว่างท่อกับปี๊บ โดยอัดให้แน่นจนเต็ม - ยกท่อ PVC ออก และทำการจุดไฟบริเวณช่องกระป๋องกาแฟด้านนอก - รอไฟติดความร้อนจะค่อยไหมเศษวัสดุ และมีควันน้อย - สามารถใช้ขาตั้งเตาแก๊สมาวางรองหม้อสำหรับทำกับอาหารได้ P17_RLH20016

ช่องทางการติดต่อ

ผศ.ดร. เสาวคนธ์ เหมวงษ์ (หัวหน้าโครงการ)
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 103 หมู่ 3 ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000 โทรศัพท์ 08 8572 1525โทรสาร 0 4254 3122 e-mail : saowakon@hotmail.com
เบอร์ติดต่อ: 08 8572 1525 โทรสาร 0 4254 3122
E-mail: saowakon@hotmail.com

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด  ดาวน์โหลด 2