ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะขยายพันธุ์ปลาที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงให้เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายสู่การเลี้ยงเป็นแหล่งอาหารในชุมชนเขตภูเขา อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

2,478 VIEW

องค์ความรู้

การเพาะเลี้ยงปลาแบบผสมผสานบนพื้นที่สูง

สรุปองค์ความรู้

การเพาะเลี้ยงปลาแบบผสมผสานบนพื้นที่สูง ใช้ปลาดุกลูกผสมเลี้ยงในกระชัง ร่วมกับปลานิลที่เลี้ยงภายนอกกระชังในบ่อดิน ปล่อยพันธุ์ปลาดุกลูกผสม น้ำหนัก 20 - 30 กรัม จำนวน 400 ตัว และปลานิลแปลงเพศ น้ำหนัก 10- 15 กรัมปลานิล จำนวน 400 ตัว ลงในบ่อดิน ขนาด 100 ตารางเมตร อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาทั้งในกระชังและบ่อดิน จะใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดลอยน้ำระดับโปรตีนประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ให้วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้า และช่วงเย็น โดยวิธีให้กินจนอิ่ม (satiation) จดบันทึกปริมาณอาหารที่ให้ และงดให้อาหารในวันที่สุ่มชั่งวัดขนาดปลา จากการทดลองเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เพื่อเป็นแหล่งอาหารในชุมชนเขตภูเขา ในเขตพื้นที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเลี้ยงปลาดุกลูกผสมเลี้ยงในกระชังร่วมกับปลานิลที่เลี้ยงภายนอกกระชังในบ่อดิน พบว่า ปลาที่เลี้ยงมีอัตราการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง ซึ่งการเลี้ยงปลาดุกให้ผลผลิต 80.2 กิโลกรัมต่อบ่อ ส่วนปลานิลให้ผลผลิต 86.6 กิโลกรัมต่อบ่อ โดยการเลี้ยงปลาดุกร่วมกับปลานิลสามารถปฏิบัติได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ปลานิลสามารถใช้เศษเหลือจากปลาดุกเป็นอาหารได้ด้วย ทำให้ประหยัดค่าอาหารปลานิล P1_RLH20015 วิธีคำนวณอัตราการรอดและผลผลิต 1. อัตราการรอด (%) = จำนวนปลาเมื่อสิ้นสุดการทดลอง X 100 จำนวนปลาเมื่อเริ่มการทดลอง 2. ผลผลิต= น้ำหนักปลาสุดท้ายXจำนวนปลาเมื่อสิ้นสุดการทดลอง P2_RLH20015 ผลการเจริญเติบโตและผลผลิตของปลา อัตราการรอด จากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานเพื่อเป็นแหล่งอาหารในชุมชน เมื่อเลี้ยงผ่านไป 4 เดือน พบว่าการเลี้ยงปลาดุกมีอัตราการรอดเฉลี่ย 80 และ79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนปลานิลมี อัตราการรอดเฉลี่ย 71 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิต จากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานเพื่อเป็น แหล่งอาหารในชุมชน เมื่อเลี้ยงผ่านไป 4 เดือน พบว่า การเลี้ยงปลาดุกให้ผลผลิต 80.2 และ 392.2 กิโลกรัมต่อบ่อ ตามลำดับ ส่วน ปลานิลให้ผลผลิต 86.6 กิโลกรัมต่อบ่อ การเลี้ยงปลาดุกในกระชังและปลานิลในบ่อดินนั้น เป็นวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสมกับชุมชน เพราะเป็นวิธีการเลี้ยงปลาที่ไม่ซับซ้อน ให้ผลผลิตเร็ว โดยเฉพาะผลผลิตปลาดุกในกระชัง ซึ่งให้ผลผลิต 2 รอบภายใน 6 เดือน และปลานิลยังสามารถใช้ของเหลือจากปลาดุกมาเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้น้ำที่ได้จากการเลี้ยงปลาเกษตรกรสามารถนำมารดพืชผักสวนครัวและต้นไม้ได้อีกด้วย

ช่องทางการติดต่อ

รองศาสตราจารย์ ดร. นิวุฒิ หวังชัย (หัวหน้าโครงการ)
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ ถนนเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่