ปลาบึกสยาม
ปลาบึกสยาม P1_20014 P2_20014 ปลาบึกสยามมีมีโอเมก้า 3 ไม่ด้อยไปกว่าในปลาแซลมอล หรือปลาทะเลอื่นๆ บึกสยามเป็นปลาลูกผสมเนื้อขาวดี มีไมมันชนิดดี เปอร์เซ็นต์เนื้อประมาณ 40-50 % ส่วนของเหลือ 50-60 % นั้นยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ เช่น นำไขมันตามตัวปลา มาผลิต ลิปบาล์ม อีกทั้งลำไส้/เครื่องใน ยังสามารถนำมาสกัดเป็นเอนไซม์ได้ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากปลาบึกสยามได้ทั้งหมด P3_20014 P4_20014 การอนุบาลลูกปลา ต้องให้ความสำคัญกับการถ่ายเทน้ำ และอากาศ ร่วมกับการให้อาหารที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอซึ่งหลังจากการผสมประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถหาอัตราการผสมได้จากระยะจุดตา อัตราการฟักเป็นตัวหลังผสม 30 ชั่วโมง และอัตราการรอดเมื่อลูกปลาอายุ 10 วัน จากนั้นนำลูกปลามาอนุบาลในบ่อซีเมนต์ในอัตราลูกปลา 10,000 ตัว ต่อบ่อขนาด 4 ตารางเมตรที่บรรจุน้ำ 2 ตัน ทำการให้อาหารลูกปลาด้วยไข่แดง ไรแดง วันละ 4 ครั้ง ในอัตรา 150 กรัม/วัน หลังจากนั้นย้ายลูกปลาไปอนุบาลต่อในบ่อดินขนาด 100 ตารางเมตร ให้อาหารโดยเปลี่ยนเป็นปลาป่นผสมรำ ปลายข้าว และอาหารลูกกบ ในอัตรา 500 กรัม/วันๆ ละ 3 ครั้ง จนครบ 30 วัน จะได้ลูกปลาขนาดประมาณ 5-10 กรัม ยาวประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปเลี้ยงต่อไปได้ ต้นทุนค่าอาหาร คณะผู้วิจัยได้นำเสนอถึงสูตรอาหารที่ลดต้นทุนค่าอาหารจากการทดแทนโปรตีนจากปลาป่นด้วยกากถั่วเหลือง/ กากข้าวโพดเพื่อเพิ่มวัตถุดิบอาหารต้นทุนต่ำ หรือวัตถุดิบท้องถิ่นเพิ่มทดแทน เช่น กล้วยสุก ข้าวโพดบด กากมะพร้าว หญ้าเนเปียร์ปากช่อง และถั่วพร้า มาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารปลาได้เช่นเดียวกัน P5_20014 การเลี้ยงปลาหนังลูกผสม สามารถเลี้ยงในกระชังอย่างเดียวหรือเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินได้ โดยพื้นที่บ่อควรมีขนาด 400 ตารางเมตร- 2 ไร่ หรือกระชังขนาด 30-60 ตารางเมตร เนื่องจากปลาหนังลูกผสมที่ตลาดต้องการมีขนาดตั้งแต่ 1.2-3 กก. ซึ่งต้องใช้เวลาเลี้ยง 6 เดือน ถึง 2 ปี เป็นปลาที่เจริญเติบโตค่อนข้างดี โดยอัตราการปล่อยปลาลูกผสมขนาด 3 นิ้วในบ่อดินเพื่อการอนุบาลควรปล่อยประมาณ 30 ตัว/ตารางเมตร ระยะเวลา 2 เดือน ให้อาหารลูกปลาดุกอัตรา 5% ของน้ำหนักตัวปลา เมื่อปลามีขนาดโต 5-10 นิ้ว ขึ้นไป ควรย้ายบ่อเพื่อลดความหนาแน่นและปล่อยในอัตรา 5 ตัว/ตารางเมตร เลี้ยงนาน 8 เดือน ก็จะได้ปลาขนาด 1.5 กก./ตัว ในระหว่างการเลี้ยงต้องหมั่นตรวจคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตการกินอาหารปลา เพื่อปรับอาหาร และป้องกันโรค ตลอดจนการสูญหาย P6_20014
ดร.สุดาพร ตงศิริ
(หัวหน้าโครงการ)
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่
ถนนเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
E-mail: sudaporn@mju.ac.th