การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออก

4,141 VIEW

องค์ความรู้

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำ

สรุปองค์ความรู้

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำ พรรณไม้น้ำ ได้แก่ พืชที่มีส่วนสังเคราะห์แสงอยู่ในน้ำตลอด หรืออยู่ในน้ำ เป็นระยะเวลาหลายเดือน และพืชที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ รวมถึงพืชชั้นต่ำ ได้แก่ เฟิร์นน้ำ และมอสน้ำ ตลอดจนพืชที่ต้องเจริญอยู่ในน้ำในช่วงระยะเวลาหนึ่งของช่วงชีวิต เช่น มีระยะที่งอกอยู่ใต้น้ำ หรือเจริญอยู่ ในน้ำได้เมื่อมีน้ำท่วมถึงตามฤดูกาล ปัจจุบันมีการนำพรรณไม้น้ำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งเป็นพืชอาหาร สมุนไพร เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการผลิตเพื่อการส่งออก ได้แก่ พรรณไม้น้ำสวยงามประดับตู้ปลา หรือจัดสวนน้ำ ตลอดจนใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำ P1_RLH20013 พืชที่เจริญอยู่ในน้ำ (Hydrophytes) หมายถึง พืชที่เจริญใต้น้ำทั้งต้น หรือมีบางส่วน ที่เจริญอยู่ใต้น้ำ พืชในกลุ่มนี้จะมีการปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในน้ำ เช่น มีสารเคลือบผิวใบ (cuticle) น้อย และปากใบ (stomata) ลดลง ใบที่ลอยน้ำจะมีปากใบเฉพาะด้านบนของใบ ส่วนใบที่อยู่ใต้น้ำ จะไม่มีปากใบ P2_RLH20013 พืชที่ขึ้นอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ (Helophytes) พบเจริญตามชายน้ำ หนอง บึง ที่ลุ่มน้ำขัง น้ำตก บริเวณที่ชื้นแฉะ แต่สามารถเจริญอยู่ใต้น้ำ หรือลอยในน้ำได้เป็นระยะเวลานาน เช่น บัวบก ผักแว่น และมอสน้ำ เป็นต้น ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทอย่างมากต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิต และการปรับปรุงพันธุ์พืชได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (plant tissue culture) ซึ่งคือการนำส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ยอด ใบ ดอก คัพภะ หัว ราก เนื้อเยื่อ เซลล์ และโปรโตพลาสต์ มาเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ ในอาหารสังเคราะห์ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ วิตามิน น้ำตาล และสารควบคุมการเจริญเติบโต โดยมีการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ และแสง เพื่อให้เกิดการเจริญและเติบโตเป็นส่วนต่างๆ ของพืช หรือ เป็นพืชต้นใหม่ที่สมบูรณ์ทั้งต้นที่สามารถเจริญเติบโตได้ต่อไป 1. พืชลอยน้ำ (Floating plants) เป็นพรรณไม้น้ำที่เจริญอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยน้ำไปได้อย่างมีอิสระ ไม่มีส่วนใดๆ สัมผัสดิน แต่ถ้าระดับน้ำลงลดตื้นเขิน รากอาจจะฝังดินและยึดดินได้ P3_RLH20013 2. พืชใต้น้ำ (Submerged plants) เป็นพรรณไม้น้ำที่มีทั้งส่วนของต้นเจริญอยู่ใต้น้ำ พรรณไม้น้ำในกลุ่มนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือพืชลอยใต้ผิวน้ำและพืชท้องน้ำ โดยพืชลอยใต้ผิวน้ำมีส่วนของใบ ราก และลำต้น แขวนลอยอยู่ใต้ผิวน้ำ P4_RLH20013 3. พืชเหนือน้ำ (Emerged plants) เป็นพรรณไม้น้ำที่ขึ้นอยู่บริเวณพื้นดินใต้น้ำ โดยมีรากยึดที่พื้น มีลำต้นสั้น แข็งแรง มีบางส่วนของต้นอยู่เหนือน้ำโดยมีการเจริญส่งใบขึ้นมาลอยที่ผิวน้ำ หรือเหนือน้ำ มีดอกชูขึ้นมาเหนือน้ำ P5_RLH20013 4. พืชชายน้ำ (Marginal plants) ประกอบด้วยพรรณไม้นํ้ากลุ่มที่เป็นพืชครึ่งบกครึ่งนํ้า และพืชริมฝั่ง โดยพรรณไม้น้ำที่เป็นพืชครึ่งบกครึ่งน้ำมักขึ้นอยู่บริเวณน้ำตื้น หรือใกล้ฝั่ง มีรากยึดดิน ส่วนล่างของต้นอยู่ใต้น้ำและมีส่วนบนของต้นอยู่เหนือนํ้า P6_RLH20013 การขยายพันธุ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีการใช้เทคนิคปลอดเชื้อในทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนพืชด้วยสารฟอกฆ่าเชื้อ การใช้อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ และการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วในการปลูกถ่ายชิ้นเนื้อเยื่อพืช ในตู้ปลอดเชื้อ นอกจากนี้หากเนื้อเยื่อที่นำมาเพาะเลี้ยงมีการปนเปื้อนเชื้อรา แบคทีเรีย จะมีเชื้อเหล่านี้ปรากฏให้เห็นปนเปื้อนอยู่ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งสามารถตรวจสอบและกำจัดได้ง่าย จึงทำให้สามารถผลิตพรรณไม้น้ำให้ปราศจากเชื้อโรคเช่น เชื้อรา และแบคทีเรีย ตลอดจนแมลงศัตรูพืช เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมีบทบาทสำคัญมากในการผลิตพรรณไม้น้ำเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ทำให้ได้ต้นอ่อนปริมาณมาก สม่ำเสมอ ในระยะเวลาสั้น จึงช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์สำหรับพรรณไม้น้ำบางชนิดที่มีการขยายพันธุ์ได้ช้า โดยวิธีการขยายพันธุ์ปกติ นอกจากนี้การขยายพันธุ์พรรณไม้น้ำโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่สะอาด ปราศจากโรคแมลงศัตรูพืช มีความแข็งแรงเติบโตได้ดี จึงเหมาะสำหรับการนำออกปลูกเลี้ยงในโรงเรือนแบบปิด (green house) ด้วยวิธีการเลี้ยงในระบบไร้ดิน (soilless culture) เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพของผลผลิตได้ตามมาตรฐานส่งออก P7_RLH20013 เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ได้ เช่นการสร้างพืชลูกผสมใหม่ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยวิธีการผสมแบบปกติ การรวมตัวของเซลล์ไร้ผนัง (protoplast fusion) การผสมเกสรในหลอดทดลอง การสร้างพืชที่มีโครโมโซมต่างจากปกติ โดยการใช้สารโคลชิซิน (colchicine) การตัดต่อ ดี เอน เอ (DNA recombination) และการถ่ายยีน (gene transformation) ทำให้สามารถผลิตพืชสายพันธุ์ใหม่ (transgenic plants) ตลอดจน การฉายรังสีเพื่อไห้เกิดลักษณะแปลกใหม่ P8_RLH20013 พืชบางชนิดสามารถผลิตสารประกอบทางเคมีที่มีประโยชน์ซึ่งเป็น secondary metabolites เช่นเป็นยารักษาโรค อายุรเวช ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม หรือเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น อย่างไรก็ตามการสกัดสารที่เป็นประโยชน์เหล่านี้จากต้นพืชปกติอาจได้ปริมาณสารน้อย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อชักนำให้เกิดมีการสังเคราะห์สารที่ต้องการให้มีปริมาณมากขึ้น เช่น การชักนำให้เกิดแคลลัสขึ้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อชิ้นส่วนของพืช แล้วจึงนำแคลลัสนั้นๆ มาสกัดสารที่เป็นประโยชน์ หรือการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้สารที่เป็นประโยชน์ปริมาณมากในสภาพปลอดเชื้อ ก่อนนำมาขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณเพื่อนำไปสกัดสารที่ต้องการ การเก็บรักษาพันธุ์พรรณไม้น้ำมีประโยชน์ทั้งในด้านการอนุรักษ์ และการนำไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะพืชที่หายาก พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ และมีเฉพาะถิ่น เก็บรักษาเชื้อพันธุ์พรรณไม้น้ำ (Germplasm conservation) ในสภาพหลอดทดลอง เป็นวิธีการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์พรรณไม้น้ำ ที่ไม่สามารถเก็บเมล็ดได้ โดยการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ให้ยาวนานสามารถทำได้โดยการเก็บรักษาชิ้นส่วนเนื้อเยื่อของพืช เช่นชิ้นส่วนปลายยอดในสภาพหลอดทดลองภายใต้อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส โดยใช้ไนโตรเจนเหลว P9_RLH20013 นอกจากนี้ยังใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการเพาะขยายพันธุ์พรรณไม้น้ำที่หายากหรือที่ใกล้สูญพันธุ์ เป็นการรักษาพันธุ์ให้คงอยู่พร้อมทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือนำลูกพันธุ์กลับไปปลูกฟื้นฟูในแหล่งอาศัยเดิมเช่นการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พรรณไม้น้ำพลับพลึงธารเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน P10_RLH20013 ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำ ห้องเตรียมอาหาร (Media preparation room) แบ่งเป็นส่วนที่จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องแก้ว สารเคมี ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเตรียมอาหารได้สะดวก และส่วนล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ P11_RLH20013 ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ (Sterile transfer room) ห้องถ่ายเนื้อเยื่อเป็นส่วนที่จะต้องมีความสะอาดที่สุด ปิดมิดชิด มีผู้ผ่านเข้าออกน้อย หรือเข้าได้เฉพาะผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น P12_RLH20013 ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Culture room) ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อจะต้องเป็นห้องที่มีการรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ให้เหลือน้อยที่สุด มีอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องปรับอากาศ ชั้นเลี้ยงเนื้อเยื่อ พร้อมอุปกรณ์ให้แสงสว่าง และเครื่องเขย่า การควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำ P13_RLH20013 อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำ สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำส่วนใหญ่ จะใช้อาหารสูตร MS ที่มีการปรับธาตุอาหาร วิตามิน และสารควบคุมการเจริญเติบโตให้เหมาะสม ขึ้นกับชนิดพันธุ์ ชิ้นส่วนพืช อายุ ระยะการพัฒนา และเป้าหมายของการเพาะเลี้ยง เนื่องจากพรรณไม้น้ำแต่ละชนิด มีความต้องการธาตุอาหาร เกลือแร่ และวิตามินต่างๆ ในปริมาณที่ต่างกัน องค์ประกอบของสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยือพืชแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สารอนินทรีย์ (inorganic salts) สารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) สารที่ได้จากธรรมชาติ (complex natural products) และสารไม่ออกฤทธิ์ (inert materials 1. สารอนินทรีย์ (Inorganic compound) ได้แก่ เกลือแร่ต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยต้องมีในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เนื่องจากหากใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปอาจเป็นพิษต่อพืช ในขณะเดียวกันถ้ามีปริมาณต่ำเกินไปพืชอาจมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์ได้ สารประกอบอินทรีย์ (Organic compound) 2. สารที่เป็นแหล่งคาร์บอน (Carbon source) ได้แก่ น้ำตาล จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชเนื่องจากเป็นแหล่งพลังงาน โดยทั่วไปน้ำตาลที่นิยมใช้ ได้แก่ น้ำตาลซูโครส (sucrose) ซึ่งคือน้ำตาลทรายนั่นเอง โดยใช้ที่ความเข้มข้น 2-4 % แต่ในบางกรณีอาจใช้น้ำตาล glucose fructose และ sorbitol วิตามิน (Vitamins) ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช กรดอะมิโน (Amino acids) เช่น Glycine, L-arginine สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (Plant growth regulators) เป็นสาร ที่เกิดจากธรรมชาติ และสารที่สังเคราะห์ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของอาหาร ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือความเป็นกรดเป็นด่างของอาหาร ส่วนใหญ่ ในการเตรียมอาหารจะปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของอาหารให้อยู่ในช่วง 5.6-6.0 เนื่องจากหาก pH สูงมากขึ้น ชิ้นส่วนของพืชจะดูดน้ำและสารอาหารได้ยาก และหาก pH ต่ำกว่า 5.5 จะทำให้เกิดปัญหาวุ้นไม่แข็งตัว เหล็กตกตะกอน การเตรียมอาหารสังเคราะห์สำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำ เมื่อเลือกสูตรอาหาร และทำการเตรียมสาร stock solution ไว้แล้ว สามารถ ทำการเตรียมอาหารได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้ 1 ดูดสารละลายจาก stock solution ต่างๆ มารวมกัน โดยใช้ปริมาตรตามตาราง เช่น ดูดสารละลายจาก stock 1 มา 50 มิลลิลิตร ถ้าต้องการเตรียมอาหาร 1 ลิตร 2 เติมสารที่เป็นแหล่งคาร์บอน เช่น น้ำตาลซูโครส (น้ำตาลทราย) 3 เปอร์เซ็นต์ หรือปรับเปลี่ยนปริมาณตามความเหมาะสม 3 เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต หรือสารอื่นๆ ตามความต้องการของสูตรอาหาร 4 ปรับปริมาตรสารละลาย ให้ครบตามที่ต้องการเตรียม เช่นปรับให้ได้ 1 ลิตร 5 ปรับ pH ด้วย 1 N HCL หรือ 1 N KOH ให้ได้ประมาณ 5.6 6 เติมวุ้น กรณีเตรียมอาหารกึ่งแข็ง หรืออาหารแข็ง 7 เคี่ยวอาหารเพื่อหลอมละลายวุ้น 8 เทอาหารลงภาชนะที่ใช้เลี้ยงแล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งความดันสูง (autoclave) ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15-20 นาที ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำ หลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แก่ปลูกชิ้นส่วนพรรณไม้น้ำ (explants) ที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้วในหลอดทดลอง หรือขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อในอาหารสังเคราะห์ที่มีความสมดุลของธาตุอาหาร ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนพรรณไม้น้ำนั้นสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ และเพิ่มปริมาณต้นอ่อน (plantlets) ได้ 1. การคัดเลือกชิ้นส่วนพืช โดยทั่วไปเนื้อเยื่อของพืชที่กำลังมีการเจริญเติบโต (meristem cell) เช่น ตายอด ตาข้าง หรือส่วนที่มีเนื้อเยื่อเจริญประกอบอยู่ด้วย และเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในระยะหนุ่ม-สาว (juvenile stage) ตลอดจนส่วนของใบโดยเฉพาะที่มีเส้นกลางใบ ใบอ่อน ดอกอ่อน ฐานรองดอก เมล็ด และลำต้นอ่อนในเมล็ดก็สามารถนำมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์เพื่อชักนำให้เนื้อเยื่อหรือชิ้นส่วนเหล่านี้มีการเจริญพัฒนาเกิดยอดและราก จนกระทั่งเกิดเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ได้ในที่สุด 2. การฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวชิ้นส่วนพืช หลักการสำคัญของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคือการปลอดเชื้อ โดยขั้นตอนเริ่มต้นที่สำคัญคือ การฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ที่ผิวภายนอกของชิ้นส่วนพืช หากชิ้นเนื้อเยื่อ มีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ จะทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และตายในที่สุด โดยทั่วไป การกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากผิวชิ้นส่วนต่างๆ ของพรรณไม้น้ำ ทำได้โดยการใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ 3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ ได้แก่ การนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้วไปเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ซึ่งเป็นอาหารเหลว หรืออาหารเหลวกึ่งแข็งที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดและปริมาณที่เหมาะสม โดยทำการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อในตู้ปลอดเชื้อ และทุกขั้นตอนดำเนินการในสภาวะปลอดเชื้อโดยการทำความสะอาดบริเวณภายในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ พัฒนาเป็นแคลลัส (callus formation) เซลล์บริเวณรอยตัดจะมีการแบ่งตัวพัฒนาเป็นกลุ่มเซลล์ เจริญเติบโตขยายจำนวนและขนาดเพิ่มมากขึ้น พัฒนาเป็นอวัยวะ (organogenesis) ชิ้นส่วนพืชมีการเจริญพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ เช่น ยอด ราก ดอก หัว และเกิดเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ พัฒนาเป็นเอมบริโอ (embryogenesis) การเลี้ยงเซลล์พืช สามารถชักนำให้เซลล์พืชเซลล์เดียว มีการเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์รูปร่างต่างๆ จนกระทั่งเกิดเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ P14_RLH20013 4. การเพิ่มจำนวนต้น ขั้นตอนนี้เป็นการเพิ่มผลผลิตต้นอ่อนให้ได้จำนวนมากที่สุดโดยการเพิ่มจำนวนยอด ทำได้โดยการแบ่งหน่อของต้นอ่อนปลอดเชื้อเป็นกลุ่มเล็กๆ เช่นกลุ่มละ 2-4 หน่อ แล้วนำลงปลูกในอาหารใหม่ เรียกว่าการ subculture โดยใช้อาหารสังเคราะห์สูตรที่เร่งการเกิดยอด เลี้ยงจนกระทั่งแตกยอดใหม่เพิ่มจำนวนมากขึ้นจึงตัดแบ่งไปปลูกในอาหารใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะได้ต้นอ่อนจำนวนมาก โดยทั่วไปพรรณไม้น้ำจะทำการ subculture ทุกๆ 3-8 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิด และชิ้นส่วนพรรณไม้น้ำ P15_RLH20013 5. การชักนำให้เกิดราก เป็นการนำยอดที่ได้ปริมาณเพียงพอแล้วมากระตุ้นให้เกิดราก โดยการ subculture ลงเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน เช่น NAA อย่างไรก็ตามขั้นตอนนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับพืชบางชนิด เช่น พรรณไม้น้ำส่วนใหญ่ที่มีการ ออกรากสมบูรณ์แล้วในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนในข้อ 4 จึงไม่จำเป็นต้องนำมาชักนำให้เกิดรากอีก P16_RLH20013 การปลูกเลี้ยงพรรณไม้น้ำ วิธีการปลูกเลี้ยงพรรณไม้น้ำสวยงามในแปลงปลูกมีหลายวิธีขึ้นกับประเภทหรือชนิดของพรรณไม้น้ำ เนื่องจากพรรณไม้น้ำแต่ละชนิดมีการแพร่กระจายในธรรมชาติซึ่งมีสภาพทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกัน บางประเภทดำรงชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำหรือบางประเภทจมอยู่ใต้น้ำตลอดชีวิต ดังนั้นวิธีการปลูกจึงต้องแตกต่างกัน ดังนี้ 1. การปลูกพรรณไม้น้ำในแปลงดิน วิธีนี้เหมาะสำหรับพรรณไม้น้ำประเภทครึ่งบกครึ่งน้ำและพรรณไม้น้ำประเภทชายน้ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่พรรณไม้น้ำสวยงามที่ใช้ในการจัดตู้พรรณไม้น้ำหรือการจัดสวนน้ำ P17_RLH20013 2. การปลูกพรรณไม้น้ำแบบใต้น้ำ วิธีนี้จะใช้ในการเพาะขยายพันธุ์พรรณไม้น้ำที่เป็นประเภทพืชใต้น้ำ เช่น ชบาน้ำ สาหร่ายคาบอมบ้า สาหร่ายเดนซ่า สาหร่ายฉัตร สาหร่ายขนนก เทปเล็ก เทปเกลียวและเทปใหญ่ เป็นต้น บ่อปลูกจะมีทั้งที่เป็นบ่อดินและบ่อซีเมนต์ โดยขนาดของบ่อปลูกจะมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการและงบประมาณ P18_RLH20013 3. การปลูกพรรณไม้น้ำโดยไม่ใช้ดิน หมายถึง การปลูกพรรณไม้น้ำลงบนวัสดุปลูกชนิดต่างๆ แทนดิน หรือไม่ต้องมีวัสดุปลูกก็ได้ โดยพรรณไม้น้ำจะได้รับสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีน้ำผสมกับปุ๋ยที่มีธาตุต่างๆ ที่พืชต้องการจากทางรากพืช P19_RLH20013 การปลูกเลี้ยงพรรณไม้น้ำ การเตรียมสารละลายธาตุอาหารในการปลูกพรรณไม้น้ำโดยไม่ใช้ดิน โดยการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ มาละลายน้ำ เพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุอาหารตามที่ต้องการ สัดส่วนของธาตุหลักและธาตุรองในสารละลายขึ้นอยู่กับความต้องการของพืชแต่ละชนิด โดยทั่วไปจะเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นสูง เมื่อจะใช้จึงนำมาเจือจางเพื่อให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ P20_RLH20013 P21_RLH20013 P22_RLH20013 พรรณไม้น้ำที่ปลูกในดินหรือทราย ที่เป็นพรรณไม้น้ำประเภทครึ่งบกครึ่งน้ำส่วนใหญ่ต้องมาปักชำในน้ำก่อนจำหน่าย เพื่อให้ลำต้น ใบ มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสีสันให้มีความอ่อนช้อยสวยงามยิ่งขึ้น ทั้งสามารถเจริญงอกงามได้ดีเมื่อนำไปปลูกในตู้ การปลูกพรรณไม้น้ำที่เรียกว่าการปักชำใต้น้ำ การเตรียมบ่อ บ่อสำหรับปักชำใต้น้ำควรเป็นบ่อซีเมนต์ สามารถเก็บกับน้ำได้สูงประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใส่กรวดแม่น้ำที่มีขนาดประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ล้างสะอาดจนไม่มีตะกอน (ถ้าทรายไม่สะอาดจะทำให้น้ำขุ่น ตะกอนจะจับที่ใบทำให้ไม่สวยงาม) ใส่กรวดแม่น้ำระดับความลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร เติมน้ำให้มีระดับความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำที่ใช้ต้องใสสะอาด อาจเป็นน้ำที่ผ่านการกรอง หรือใช้น้ำประปาก็ได้ P23_RLH20013 การปลูก เด็ดยอดพรรณไม้น้ำมาจากต้นพ่อ-แม่พันธุ์ ที่มีความยาวตามต้องการ แต่ต้องมีอย่างน้อย 2-3 ข้อ เช่น อาจตัดมา 5-6 ข้อ เด็ดใบข้อที่ 1-2 ออก (เพื่อให้เกิดรากที่ข้อ) ถ้าหากไม่เด็ดใบออก ใบที่อยู่ใต้กรวดจะเน่า ทำให้น้ำเสียหรือเกิดความสกปรก ปลูกพรรณไม้น้ำลงในกรวดแม่น้ำให้ห่างกันพอประมาณ เพื่อให้มีเนื้อที่ในการเจริญเติบโตของใบ จากนั้นเติมน้ำที่ใสและสะอาดลงไปจนกระทั่งระดับน้ำสูงจากทรายประมาณ 30-50 เซนติเมตร (ขึ้นกับความสูงของพรรณไม้น้ำที่ต้องการ) การดูแลจัดการภายในบ่อ 1) ควรมีการถ่ายน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 30 % ของปริมาณน้ำในบ่อ เพื่อให้น้ำสะอาด 2) ใส่ปุ๋ยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ได้แก่ ปุ๋ย NPK ชนิดละลายน้ำ เช่น สูตร 25-5-5, 30-20-10, 27-17-10 ในปริมาณ 5-15 ppm (5-15 กรัม/ปริมาตรน้ำ 1,000 ลิตร) ซึ่งปริมาณการใช้ปุ๋ยจะมากหรือน้อยขึ้นกับชนิดของพรรณไม้น้ำ และการใส่ปุ๋ยควรใส่หลังจากการเติมน้ำใหม่แล้ว 2-3 วัน 3) เติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้พรรณไม้น้ำนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำได้โดยการเติมลงไปในกล่องกักคาร์บอนไดออกไซด์ที่ติดตั้งไว้ในบ่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะค่อยๆ ละลายออกมาจนกว่าพรรณไม้น้ำจะใช้จนหมด 4) ประมาณ 2-3 สัปดาห์ เมื่อใบมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสีสันสวยงาม ตลอดจนมีรากงอกดีแล้ว จึงนำมาล้างทำความสะอาดเพื่อจำหน่ายหรือปลูกประดับในตู้ปลาต่อไปก่อนนำพรรณไม้น้ำลงชำใหม่ ควรล้างกรวดแม่น้ำให้สะอาด โดยสังเกตว่าน้ำที่ใส่ลงไปต้องใส จึงจะนำพรรณไม้น้ำลงปลูก นอกจากนั้นหากพรรณไม้น้ำที่ชำในบ่อทิ้งไว้นานเกินไปจนกระทั่งมีตะกอนเกาะตามลำต้นและใบ ควรถอนพรรณไม้น้ำออกให้หมด ถ่ายน้ำในบ่อออกให้หมด ล้างทรายให้สะอาด แล้วจึงเด็ดส่วนยอดนำไปชำใหม่อีกครั้ง เพราะการที่มีตะกอนเกาะตามลำต้นและใบดังกล่าว แสดงว่าน้ำในบ่อสกปรก หากไม่ล้างออกปลูกใหม่ ตะกอนเก่าจะเกาะซ้ำอีก ซึ่งจะไม่สามารถนำพรรณไม้น้ำไปจำหน่ายได้

ช่องทางการติดต่อ

ดร. กาญจนรี พงษ์ฉวี (หัวหน้าโครงการ)
สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืดสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เบอร์ติดต่อ: 0 2558 0145
E-mail: kanchanp43@hotmail.com