การสร้างมูลค่าเพิ่มตาลโตนด

4,238 VIEW

องค์ความรู้

การสร้างมูลค่าเพิ่มตาลโตนด

สรุปองค์ความรู้

การสร้างมูลค่าเพิ่มตาลโตนด P1_RLH20012 ถ่านอัดแท่ง 1.การเผาไหม้ (combustion) เป็นกระบวนการให้ความร้อนกับวัสดุภายในเตาเผาถ่าน 2.การไล่ความชื้นออกจากเนื้อวัสดุซึ่งใน ขั้นตอนนี้จะใช้อุณหภูมิจนถึง 270 องศาเซลเซียส ความชื้นจะค่อยๆ ลดลงจนกระทั่งหมดไปซึ่งสังเกตได้จากปริมาณไอน้ำสีขาว 3. การคายความร้อนโดยเกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิ 250 - 300 องศาเซลเซียส 4. การทำให้เย็นซึ่งจะใช้เวลาหลายชั่วโมงขึ้นอยู่กับชนิดของเตาเผาที่ใช้ คุณสมบัติของถ่านอัดแท่งที่ดีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ข้อหลักๆข้อแรกคือคุณสมบัติด้านการจัดการหมายถึงถ่านอัดที่ได้ไม่ควรร่วนหรือแตกแยกออกเป็นส่วนๆในระหว่างการจัดการเก็บรักษาและการเคลื่อนย้ายและสมบัติด้านเชื้อเพลิงโดยจะเกี่ยวเนื่องกับชนิดของวัตถุดิบที่ใช้รูปร่างและความหนาแน่นที่ได้ซึ่งในการปรับปรุงสมบัติด้านการจัดการโดยเพิ่มความหนาแน่นของถ่านอัดแท่งจะมีผลกระทบต่อสมบัติการเผาไหม้ด้วย P2_RLH20012 เตาเผาถ่านแบบตั้งหรือการสร้างเตาแบบดินเหนียว เตาเผาถ่านแบบตั้งได้พัฒนาให้เป็นระบบความร้อนตามหลักของชีวมวลโดยการเผาถ่านด้วยถังน้ำมัน 200 ลิตรมีอุปกรณ์หลัก 3 ส่วนเพื่อช่วยในการเผาไหม้ ดังนี้ (1) ตะแกรงเหล็ก ความสูงจากฐานเตา 8 เซนติเมตรเพื่อคั่นไม้ฟืนกับฐานเตา (2) ท่อนทรงกรวยเส้นผ่านศูนย์กลางฐาน 8 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลางด้านบน 6 นิ้ว ความสูงของท่อ 30.5 เซนติเมตรถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ตามหลักชีวมวลหรือการเผาควัน (3) ครีบเกลียวขนาด 1 1/8 นิ้ว จำนวน 3 ใบเพื่อช่วยเร่งในการเผาไหม้ให้เร็วขึ้น P3_RLH20012 เครื่องบดถ่าน ซึ่งส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ใบมีดที่ติดเรียงตัวกันบนเพลาที่หมุนได้รอบตัว โดยใช้มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า เป็นตัวขับเคลื่อน ใช้ไฟฟ้า 2 เฟส และสามารถทำการตีถ่านได้มากกว่า 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ทั้งนี้ขนาดของเครื่องบด และจำนวนใบมีดที่ติดบนเพลาตลอดจนลักษณะของใบมีด ได้มีการออกแบบให้เหมาะสมกับชนิด ขนาด และปริมาณของวัสดุถ่านจากเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อน และถ่านกะลาตาล นอกจากนั้นได้ติดตะแกรงร่อนรองรับถ่านที่ผ่านการย่อยก่อนนำไปใช้ในการอัดแท่ง P4_RLH20012 เครื่องผสมถ่านกับวัสดุประสาน เป็นถังผสมทรงกลมแนวตั้งใช้ในการผสมคลุกเคล้าถ่านให้เข้ากับตัวประสานก่อนเข้าเครื่องอัด รายละเอียดของเครื่องผสมถ่านกับวัสดุประสานจะ ประกอบด้วย ตัวเครื่องทำจากสแตนเลท์ ขนาดความกว้าง 80 เซนติเมตร และความสูง 60 เซนติเมตร จะสามารถผสมได้ครั้งละ ประมาณ 100 กิโลกรัม และมีช่องเทออกทางก้นถัง ขาตั้ง 4 ขา ใช้ระบบเกียร์ทดรอบ ใช้มอเตอร์ขนาด 2 แรงม้า ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ สามารถทำการผสมถ่านได้ 100 กิโลกรัมต่อ 20 นาที เครื่องอัดถ่านแบบเกลียวตัวหนอนใช้การอัดเกลียวหรืออัดสกรู (screw extrusion) เพราะมีความสะดวกหลายประการและเป็นที่นิยมในการผลิตถ่านทั่วไปทำงานด้วยมอเตอร์2แรงม้าสามารถอัดก้อนถ่านได้ประมาณ 150 กิโลกรัมต่อชั่วโมงเกลียวที่หมุนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าบีบเข้าไปยังกระบอกอัดซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตรและถูกดันออกมาทางที่รองรับไว้ที่ปลายกระบอกอัดอีกข้างหนึ่งดังภาพ P5_RLH20012 P6_RLH20012 อัตราส่วนผสมที่เหมาะสมตามชนิดปริมาณวัตถุดิบ โดยการนำถ่านกะลาตาลที่ได้จากการบดแล้วมาผสมกับถ่านจากเปลือกตาล และขั้วตาลอ่อน ที่ได้จากการบดแล้ว มาทำการผสมเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสม (ถ่านเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อน: ถ่านกะลาตาล) โดยอัตราส่วนดังนี้ (1) ถ่านจากเปลือกและขั้วตาลอ่อน 100:0 (เปอร์เซ็นต์) (2) ถ่านจากกะลาตาล 0:100 (เปอร์เซ็นต์) (3) ถ่านเปลือกและขั้วตาลอ่อน: ถ่านกะลาตาล 50:50 (เปอร์เซ็นต์) (4) ถ่านเปลือกและขั้วตาลอ่อน: ถ่านกะลาตาล 60:40 (เปอร์เซ็นต์) (5) ถ่านเปลือกและขั้วตาลอ่อน: ถ่านกะลาตาล 70:30 (เปอร์เซ็นต์) (6) ถ่านเปลือกและขั้วตาลอ่อน: ถ่านกะลาตาล 80:20 (เปอร์เซ็นต์) อัตราส่วนตัวประสาน อัตราส่วนตัวประสานโดยใช้แป้งมันสำปะหลังและน้ำโดยการเลือกอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมดังนี้ถ่านจากเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อน และถ่านกะลาตาลตามอัตราส่วน 10 กิโลกรัม ตามอัตราส่วนผสมแป้งมัน 1 กิโลกรัม น้ำ 0.5-0.8 ลิตร ตามความเหมาะสมกับความชื้น ของถ่านเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อน และถ่านกะลาตาล ใช้ความเร็วรอบเครื่องรีดประมาณ 140 รอบต่อนาทีอัตราการป้อน 140 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในผลการทดสอบเบื้องต้นเป็นค่าที่เหมาะสมและสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมา P7_RLH20012 ภาพถ่านเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อน และถ่านกะลาตาล P8_RLH20012 นำเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อน กะลาตาล มาเผาจนเป็นถ่านในถังน้ำมัน 200 ลิตร ในแนวตั้งหลังจากที่ถ่านสุกแล้ว ก็จะปล่อยให้ถ่านเย็นตัวลงแล้วจึงนำออกจากถัง (ระยะเวลาการเผาประมาณ 2 ชั่วโมง) P9_RLH20012 ภาพบดถ่านเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อน และถ่านกะลาตาล P10_RLH20012 นำผงถ่านเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อน ถ่านกะลาตาล ผสมให้เข้ากันให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยใช้แป้งเปียกเป็นตัวประสาน สัดส่วนการผสมแป้งมันสำปะหลังต่อน้ำหนักวัตถุดิบ 1:10 P11_RLH20012 P12_RLH20012 นำส่วนผสมที่ได้ผสมไว้เรียบร้อยแล้วไปเข้าเครื่องอัดในการอัดขึ้นรูปตามแบบที่กำหนด โดยกำหนดใช้ความเร็วรอบเครื่องรีดประมาณ 140 รอบต่อนาที จะมีรูปทรงกระบอกหรือกลม ตามวัตถุประสงค์การใช้งานและความต้องการ P13_RLH20012 ถ่านอัดแท่งที่ได้จากการอัด นำไปตากแดดให้แห้งสนิท บนพื้นคอนกรีตประมาณ 7 วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) และวัดความชื้นต้องไม่เกินร้อยละ 8 - ราคาต้นทุนวัตถุดิบถ่านเปลือกตาลและขั้วตาลอ่อนและกะลาตาล กิโลกรัมละ 3 บาท ใช้ 400 กิโลกรัม/วัน เท่ากับ 1,200.00 บาท/วัน - ราคาแป้งมันสำปะหลัง กิโลกรัมละ 10 บาท 40 กิโลกรัม/วัน เท่ากับ 40 บาท/วัน - ค่าน้ำ ปริมาณการใช้ตามความเหมาะสมกับความชื้นของถ่าน โดยเฉลี่ยวันลt5 หน่วยๆ ละ 5 บาท เท่ากับ 25 บาท/วัน - ค่าไฟฟ้า เมื่อคำนวณจากเครื่องมือและอุปกรณ์ถ่านอัดแท่ง ใช้ที่ 5 แรงม้า เท่ากับ 3.75 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ใช้วันละ 8 ชั่วโมง เท่ากับ 29.84 หน่วย ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 3.50 บาท ดังนั้นจะเสียค่าไฟฟ้าในการผลิตวันละประมาณ 104.44 บาท หรือชั่วโมงละ 13.055 บาท - ค่าแรงงานคนวันละ 200 บาท ใช้แรงงาน 3 คนต่อวัน เท่ากับ 600 บาทต่อวัน ดังนั้นจึงสามารถคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละอัตราส่วนผสมคงที่ได้ประมาณ 4.93 บาท/กิโลกรัม หรือต้นทุนรวมในการผลิตต่อวันละ 1,969.44 บาท/ปริมาณถ่านอัดแท่ง 400 กิโลกรัม P14_RLH20012 P15_RLH20012 ผลิตเส้นด้าย การตัดและการเตรียมเส้นใยตาล หลังการยีดสกัดเนื้อตาล จะเห็นได้ว่าส่วนของเส้นใยลูกตาลที่ติดกับเมล็ด ตาล โดยเฉลี่ยเส้นใยลูกตาลจะมีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร จัดว่าเป็นเส้นใยธรรมชาติประเภทสั้น มีเส้นใยลูกตาลจะมีสีเหลืองสด P16_RLH20012 P17_RLH20012 หลังจากล้างด้วยน้ำประปา 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นจะใช้กรรไกรตัดเส้นใยลูกตาล ให้มีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร P18_RLH20012 นำเส้นใยลูกตาลที่ได้รวบรวมไว้ มาทำการหมักภายใต้สภาพน้ำขัง ระยะเวลาการหมัก 14 วันซึ่งในขั้นตอนการหมักจะได้รับกากน้ำตาล และไนโตรเจน (ปุ๋ยยูเรีย) ในปริมาณ 45 mgN/เส้นใยลูกตาลแห้ง 1,000 g เพื่อที่ไนโตรเจนไปเป็นแหล่งอาหารให้กับจุลินทรีย์ท้องถิ่นและใส่จุลินทรีย์ประสิทธิภาพ (effective microorganism; EM) จำนวน 20 ml (พิทักษ์ อุปัญญ์ และจันทร์เพ็ญ ชุมแสง, 2554) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายผนังเซลล์พืชส่วนของสารอื่นๆ ที่ไม่ใช่เส้นใยหลุดออกจากเส้นใย เมื่อครบกำหนดจะนำเส้นใยมาทำความสะอาดการล้าง หมักด้วยน้ำยาปรับผ้านุ่ม และตากแดดให้แห้ง จึงทำการอัดก้อนเส้นใยเพื่อส่งโรงงานผลิตเส้นด้ายต่อไป P19_RLH20012 ล้างเส้นใยลูกตาลให้สะอาดด้วยน้ำประปา P20_RLH20012 การเก็บรักษาเส้นใย การอัดก้อนเส้นใยเพื่อส่งโรงงานผลิตเส้นด้าย เส้นด้ายและผ้าทอเส้นใยลูกตาล เพื่อสร้างความหลากหลายของสีเส้นด้ายใยลูกตาล โดยการนำเส้นด้ายใยลูกตาลที่ได้ จากการวิจัยมาย้อมสีธรรมชาติ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกลุ่มผ้าทอมือพื้นบ้าน เพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้วยกี่พื้นบ้าน เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์วิทยากร การย้อมสีเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติครั้งนี้ คือนางสีนวล หมวกทอง ครูภูมิปัญญาไทยในการนำพืชพรรณไม้ในท้องถิ่นมาย้อมสีธรรมชาติ และรับพระราชทานเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทยสัญญาลักษณ์ตรา “นกยูง” P21_RLH20012 การเตรียมสารช่วยย้อม น้ำมะขาม เตรียมได้โดยนำมะขามเปียก 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 3 ลิตร ต้มให้เดือดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง กรองให้ได้น้ำมะขามที่ไม่มีตะกอน น้ำปูนใส เตรียมได้โดยนำปูนขาว 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 3 ลิตร กรองให้ได้น้ำปูนใสที่ไม่มีตะกอน น้ำขี้เถ้า เตรียมได้โดยนำขี้เถ้า 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 3 ลิตร กรองให้ได้น้ำขี้เถ้าใสที่ไม่มีตะกอน ดินโคลน เตรียมได้โดยนำดินโคลน 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 3 ลิตร กรองให้ได้น้ำดินโคลนใสที่ไม่มีตะกอน สารส้ม เตรียมได้โดยนำสารส้ม 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 3 ลิตร กรองให้ได้น้ำสารส้มใสที่ไม่มีตะกอน จุนสี เตรียมได้โดยนำจุนสี 250 กรัม เติมน้ำ 3 ลิตร แล้วค้นให้ละลายและได้น้ำจุนสีใสที่ไม่มีตะกอน P22_RLH20012 นำตัวอย่างพืชให้สีแต่ละชนิด มาหั่น/สับให้ละเอียด ตามปริมาณที่ต้องการแล้ว นำพืชแต่ละชนิดไปต้มด้วยความร้อนสูงประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วกรองแยกน้ำสีที่ได้ด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำสีขึ้นตั้งไฟใหม่ให้ร้อน แล้วนำเส้นด้ายที่ผ่านการทำความสะอาดและบิดให้หมาดๆ ตรึงเส้นด้ายให้เส้นด้ายแตกแยกเป็นเส้นๆ ก่อน นำลงไปย้อมกับน้ำสีให้อยู่ในความร้อนพอประมาณ คนเส้นด้ายให้น้ำสีซึมเข้าเส้นด้ายจนอิ่มสี ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงนำเส้นด้ายที่ผ่านการย้อมสีแล้วไปซัก ด้วยน้ำสะอาดจนสีไม่เกิดการตกของสี (ประมาณ 10 ครั้ง)เสร็จแล้วนำไปคลึงหรือกระตุกให้เส้นด้ายเกิดการเหยียดตรง ผึ่งแดดให้แห้ง แล้วจึงนำไปปั่นเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการทอเป็นผืนผ้า การออกแบบและผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือด้วยเส้นด้ายใยลูกตาล นำเส้นด้ายใยลูกตาลที่ผ่านการย้อมสีและไม่ย้อมสี มาทดลองทอด้วยกี่พื้นบ้าน โดยมีวิทยากร ป้าสุพิน นาห้วย มีการออกแบบลายผ้า 3 แบบ ได้แก่ ผ้าทอลายขัด ผ้าทอยกดอกมุก และผ้าทอยีนส์ลาย 4 ตะกอ การทอผ้าในครั้งนี้ใช้เส้นด้ายใยลูกตาลที่ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติและที่ไม่ย้อมสีเป็นเส้นด้ายเส้นพุ่ง และใช้เส้นด้ายจากไหม, เรยอน, ฝ้าย และไหมอีรี เป็นด้ายเส้นยืน P23_RLH20012 P24_RLH20012 P25_RLH20012 เส้นใยลูกตาลเป็นส่วนที่เหลือทิ้งจากยี/สกัดเนื้อตาลโตนดสุก จากการอบรมครั้งนี้ โดยการใช้กรรไกรตัดเส้นใยหลังการยีเนื้อตาลสุกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะได้เส้นใยตาล ประมาณ 270 กรัม ต่อผลตาลสุกที่มีน้ำหนักทั้งผลอยู่ในช่วง 1,000 – 1,500 กรัม หรือมีเส้นใยตาล อยู่ในช่วง 18.4 – 27.6 เปอร์เซ็นต์ ของผลตาลสุก 1 ลูก ซึ่งปริมาณเส้นใยการตัดต่อผลตาลสุกอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ 5-10 นาทีต่อผลตาลสุก 1 ลูก ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนมีความคุ้มทุนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเป็นส่วนที่เหลือทิ้ง ในขณะที่ราคาชื้อขายเส้นใยลูกตาลไม่ผ่านกระบวนการหมัก อยู่ที่กิโลกรัมละ 60-80 บาท อัตราค่าขนส่งทางบริษัท จะเป็นผู้รับผิดชอบ จากการเก็บสถิติการตัดเส้นใยลูก ตาลระยะเวลา 1 ชั่วโมง ได้เส้นใยประมาณ 0.7-1 กิโลกรัม จากการอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากการยี/สกัดเนื้อตาลโตนด และจากการติดตามผลพบว่า มีเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้ไป ประกอบอาชีพเสริมและถ่ายทอดให้กับคนแก่ที่อยู่ที่บ้านให้มีรายได้จากการตัดเส้นใยลูกตาล จนทำให้มีรายได้ต่อเดือน 3,000-5,000 บาทต่อราย ในหลายหลังคาเรือน ของตำบล้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี และโดยการรับชื้อของบริษัทไทยนำโชค เท็กไทส์ จำกัด และบริษัทก้องเกียรติ เท็กไทส์ จำกัด ทำให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ในพื้นที่ดังกล่าวต่อเดือนประมาณ 80,000-100,000บาท อาหาร การใช้ประโยชน์จากลูกตาลด้านอาหาร ลูกตาลเฉาะ ซึ่งตาลโตนดตัวเมียนั้นจะมี “ลูกตาล” ติดเป็นทะลาย เมื่อยังไม่แก่จัดจนสุกเหลือง ชาวบ้านก็จะตัดลงมาทั้งทะลาย แล้วนำมา “เฉาะ” ทีละลูก เพื่อให้ได้ “เต้าตาล” หรือ “ลอนตาล” ใน 1 ลูกตาล หรือ 1 ผลตาล จะมีเต้าตาลประมาณ 2-3 เต้า ชาวบ้านจะเรียกว่าลูกตาลเฉาะเมื่อลูกตาลมีอายุมากขึ้นจะมีเปลือกสีเขียวมากขึ้น เป็นระยะที่เนื้อลูกตาลอ่อน จะมีความแก่มากขึ้นเนื้อจะเหนียวนุ่ม P26_RLH20012 จาวตาล เกิดจากผลแก่จัดของต้นตาลตัวเมีย เมื่อผลหล่นลงมาชาวบ้านจะเก็บรวบรวมกองไว้ ต่อมาต้นตาลตัวเมียจะแทงส่วนที่คล้ายรากงอกออกมาลงสู่พื้นดิน เรียกว่า “งอกตาล” ส่วนนี้จะกลายเป็นต้นอ่อนของต้นตาล เมื่อแทงยอดพ้นดินขึ้นมาจะเจริญเติบโตเป็นต้นตาลต่อไป จาวตาลนิยมนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน “จาวตาลเชื่อม” หรือนิยมเรียกกันว่า “ลูกตาลเชื่อม” ผลตาล หรือลูกตาลที่ยังไม่แก่จัด ถ้านำเอาส่วนของหัวตาลมาปอกผิวนอกออก แล้วหั่นออกเป็นชิ้นบางๆ ก็จะได้หัวตาลอ่อนนำไปปรุงเป็นอาหารที่มีรสอร่อยกลมกล่อม หัวตาล นิยมนำไปลอยน้ำตาลใส โดยตัดเฉพาะส่วนหัวลูกตาลที่ค่อนข้างอ่อนแล้วเอาหัวตาลอ่อนมาร้อยเข้ากับเส้นตอกเป็นพวง ประมาณพวงละ 7-10 หัว แล้วนำไปลอยน้ำตาลใสที่กำลังเคี่ยวเดือดพล่านอยู่ในกระทะ P27_RLH20012 ลูกตาลยีลูกตาลเมื่อโตเต็มที่ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตรผิวเหลือง จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำขั้วยังมีสีเขียวเข้ม จนถึงสีน้ำตาลบริเวณก้นเป็นปุ่มเล็กน้อยมีสีเหลือง จนถึงสีส้มเรียกว่าลูกตาลสุก แกะเอาเปลือกสีดำออก จะพบเส้นใยลูกตาลและเนื้อสีเหลืองจนถึงสีส้มห่อหุ้มเมล็ดไว้ 3-4 เมล็ดตรงกลางระหว่างเมล็ดจะมีแกนกลางเป็นเส้นใยรวมกัน ผลตาลมีขนาดแตกต่างระหว่าง 600-2,000 กรัม

ช่องทางการติดต่อ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์เพ็ญ ชุมแสง (หัวหน้าโครงการ)