การถ่ายทอดเทคโนโลยีการสีข้าวด้วยเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก

3,739 VIEW

องค์ความรู้

เครื่องสีข้าวขนาดเล็กเพื่อชุมชน

สรุปองค์ความรู้

P1_RLH20009 เครื่องสีข้าวที่เหมาะกับครัวเรือนมากที่สุด ได้แก่ เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ที่มีการออกแบบพัฒนาให้สามารถสีข้าวกล้องได้ เน้นการใช้วัสดุภายในประเทศมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของเครื่องที่สามารถสีข้าวเปลือกได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมงและสามารถเคลื่อนย้ายได้ พร้อมทำงานได้ทันที สามารถปรับค่าระดับการสีเพื่อให้ได้ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือและข้าวสารได้ดีในระดับหนึ่ง ขั้นตอนการสีข้าว การกะเทาะข้าวเปลือก การขัดขาว การขัดมัน การยิงสีหรือดีดสี P2_RLH20009 ขั้นตอนการสีข้าว การกะเทาะข้าวเปลือก การขัดขาว การขัดมัน การยิงสีหรือดีดสี P3_RLH20009 ทำความสะอาดข้าวเปลือก เพื่อ แยกสิ่งแปลกปลอม เช่น ฟาง เศษพืช ฝุ่น ผง กรวด ทราย ออกจากข้าวเปลือก แยกสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดใกล้เคียงกับข้าวเปลือก โดยใช้การแยกด้วยความหนาแน่น หรือความถ่วงจำเพาะ โดยเครื่องจักร เรียกว่าเครื่องแยกเม็ดหิน (destoner) แยกโลหะด้วยเครื่องจับโลหะ P4_RLH20009 การกะเทาะเปลือก เพื่อแยกเอาส่วนที่หุ้มเมล็ดข้าว ซึ่งเรียกว่า แกลบ (husk) ออกจากเมล็ดข้าว ในขั้นตอนนี้จะใช้เครื่องกะเทาะ (huller) ซึ่งเป็นลูกยางสองลูกหมุนทิศทางเข้าหากันด้วยความเร็วต่างกัน หรือใช้เครื่องกะเทาะที่ทำด้วยแผ่นโลหะสองแผ่นบุด้วยหินหยาบ เพื่อให้เกิดการเสียดสี กะเทาะให้แกลบหลุดออกจากเมล็ดข้าว ข้าวที่ได้จากขั้นตอนนี้ว่า เรียกว่า “ข้าวกล้อง” ซึ่งยังมีเยื่อหุ้มเมล็ดและ “คัพภะ” หรือส่วนของเมล็ดที่รากจะงอกติดอยู่ จากนั้นจึงแยกแกลบและข้าวเปลือกที่ยังไม่ถูกกะเทาะออกจากข้าวกล้อง แกลบซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการสีข้าว สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ P5_RLH20009 การขัดขาวและขัดมัน (whitening and polishing) เป็นการขัดชั้นรำ (rice bran) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มเมล็ด ออกจากข้าวกล้องให้เหลือเฉพาะส่วนของเอนโดเสปอร์ม และขัดมันเพื่อให้ได้ผิวเรียบเป็นเงาสะอาด รำข้าว ที่เป็นผลพลอยได้จากขั้นตอนนี้ประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ด คัพภะ มีไขมันสูง เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันรำข้าว P6_RLH20009 การคัดขนาดข้าวสาร ใช้ตะแกรงที่มีรูเปิด ขนาดความยาวของรูแตกต่างกัน เพื่อแยกข้าวสารเต็มเมล็ดต้นข้าว (head rice) ออกจากข้าวหัก และปลายข้าว เช่น ปลายข้าวนั้นจะมีความยาวประมาณเท่ากับหรือน้อยกว่า 6/8 ของความยาวเมล็ดเต็ม P7_RLH20009 คุณภาพข้าวสาร การสีข้าวเปลือกจะได้ผลิตภัณฑ์ข้าวสารประมาณ 68-70% รำข้าว 8-10% และแกลบ 20-24% ข้าวสารคุณภาพดี ควรเป็นข้าวเต็มเมล็ด (whole kernels) และต้นข้าว (head rice) มาก โดยมีข้าวหัก (brokens) น้อย ปัจจัยที่ทำให้ข้าวหักในระหว่างการสี คือ เมล็ดข้าวที่มีความยาวมาก เมล็ดบิดเบี้ยว หรือไม่สมบูรณ์ เมล็ดมีท้องไข่ หรือเมล็ดอ่อน นอกจากนี้ ยังมีอาการร้าวของเมล็ดข้าว ซึ่งอาจเกิดจากการ เก็บเกี่ยวข้าวที่แช่น้ำ หรือเก็บเกี่ยวช้าแล้วนำไปสี รวมทั้งการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ระดับการสีข้าว แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ สีดีพิเศษ (extra well milled) คือการสีขัดเอารำออกทั้งหมดจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามเป็นพิเศษ สีดี (well milled) คือการขัดเอารำออกทั้งหมดจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามดี สีปานกลาง (reasonably well milled) คือการสีขัดเอารำออกเป็นส่วนมากจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามพอสมควร สีธรรมดา (ordinarily milled) คือการสีขัดเอารำออกแต่เพียงบางส่วน P8_RLH20009 P9_RLH20009 เทข้าวเปลือกลงในช่องบรรจุข้าวเปลือกด้านล่างของช่องบรรจุมีลิ้นที่สามารถปรับได้ เพื่อกำหนดปริมาณข้าวเปลือกที่จะป้อนเข้าสู่ตะแกรงแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากข้าวเปลือก P10_RLH20009 ในห้องลูกกลิ้ง ข้าวเปลือกถูกส่งเข้าสู่ช่องว่างระหว่างลูกกลิ้งที่สามารถปรับระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง เพื่อกะเทาะเปลือกออกให้ได้ข้าวสารที่ต้องการ P11_RLH20009 ข้าวสารที่หนักกว่าแกลบจะหล่นลงไปยังอุปกรณ์คัดแยกขนาดเมล็ดข้าวสาร แต่แกลบที่เบากว่าจะถูกดูดออกจากเครื่องสีข้าวด้วยพัดลม ดูดอากาศที่ถูกติดตั้งไว้ P12_RLH20009 P13_RLH20009 P14_RLH20009 ข้าวสารขนาดต่าง ๆ พร้อมที่จะนำไปประกอบอาหาร และหากต้องการเพิ่มมูลค่าสามารถทำการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ด้วยเครื่องบรรจุแบบสุญญากาศเพื่อให้สามารถเก็บไว้นานยิ่งขึ้น

ช่องทางการติดต่อ

ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ (หัวหน้าโครงการ)
สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เลขที่ 202 ถนนช้างเผือกอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
E-mail: worajit@gmail.com