การผลิตปุ๋ยและสารปรับปรุงดินจากแหล่งแคลเซียมธรรมชาติเพื่อเพาะปลูกข้าวหอมมะลิเขตทุ่งกุลาร้องไห้

2,845 VIEW

องค์ความรู้

ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน

สรุปองค์ความรู้

การผลิตสารปรับปรุงดิน สูตรอุดมสมบูรณ์ มีสารประกอบ 10 ชนิด ในหนึ่ง สูตร คือ ยิปซัม ดีเกลือ แคลเซียมไนเตรท แมกนีเซียมไนเตรท แคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมฟอสเฟต แคลเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมอะซิเตท แมกนีเซียมอะซิเตท โดยนอกจากจะเป็นสารปรับปรุงลักษณะกายภาพของดินให้มีความร่วนซุ่ย อุ้มน้ำ จับกันเป็นก้อนของเม็ดดิน ยังสร้างความอุดสมบูรณ์ คือให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช หลายธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน พร้อมทั้งกรดอินทรีย์ คือ กรดอะซิติก ที่สามารถยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดปัญหา เรื่องโรครากเน่า โคนเน่าของต้นข้าวได้ เมื่อใช้สารปรับปรุงดินนี้แล้ว จึงช่วยเกษตรกรลดปริมาณปุ๋ยเคมีลง ทาให้ประหยัดต้นทุนเรื่องปุ๋ยได้ โดยวิธีการใช้และฉลากคู่มือการใช้ ดังรูป P1._RLH20007 วิธีการใช้ที่เหมาะสม วิธีที่ 1 การหว่านหรือโรยทั่วแปลงนา ในปริมาณ 50-100 กก./ไร่ หรือการผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 100 กก. ต่อปุ๋ย 500 กก. แล้วนำไปหว่านหรือโรยทั่วนา จำนวน 50-100 กก./ไร่ จากนั้นค่อยไถกลบหรือไถพรวน วิธีที่ 2 หากเมื่อได้ทำการหว่านข้าวไปแล้ว (ปกติเกษตรกรทำนาหว่าน) ก็ให้นำสารปรับปรุงดินที่ผลิตได้นั้น ไปหว่านให้ทั่วพื้นนาได้เลย โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม เพราะเมื่อมีน้ำ สารปรับปรุงดินจะละลายซึมลงดินอย่างช้า เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชและช่วยปรับสภาพกายภาพของดินได้ด้วย P2_RLH20007 P3_RLH20007 P4_RLH20007 P5_RLH20007 อาหารเสริมสกัดจากเปลือกหอย สูตร เร่งดอกผล สร้างร่วงและเมล็ด สูตรนี้ ผลิตจากสารประกอบ คือ แคลเซียมไนเตรท และแคลเซียมฟอสเฟต ผลิตจากเปลือกหอย และแคลเซียมแมกนีเซียมไนเตรท และแคลเซียมแมกนีเซียมฟอสเฟต ผลิตจากโดโลไมต์ โดยสารประกอบเหล่านี้ ละลายน้ำได้ดี จึงนำเอาสารประกอบเหล่านี้ไปละลายน้ำ โดยปริมาณ คือ สารประกอบผลิตจากเปลือกหอย 20 กก. ผสมกับสารประกอบผลิตจากโดโลไมต์ 10 กก. มาใส่ในถัง 100 ลิตร ละลายน้ำให้ครบ 100 ลิตร ก็จะได้อาหารเสริมสกัดจากเปลือกหอย 100 ลิตร ปริมาณการใช้ 1 ลิตร ผสมน้ำได้ 1,000 ลิตร ปริมาณการใช้ ได้ 10 ไร่ ใช้ในช่วงข้าวก่อนแตกกอ และออกรวง กระตุ้นการแตกกอ และกระตุ้นการสร้างรวง สร้างเมล็ดให้สมบูรณ์ ได้น้ำหนัก P6_RLH20007 การผลิตปุ๋ยน้ำ อาหารเสริมพืช สกัดจากเปลือกหอย สูตร กระตุ้นแตกกอ ออกรวง สร้างเมล็ด โดยนำเอาเปลือกหอยบด 30 กก. ใส่กระบะผสมปูน จากนั้นค่อยเทสารตั้งต้นที่เรียกว่า พี 70 ลงไปอย่างช้า จนครบจำนวน 80 กก. ขณะเทผสมให้คนอย่าให้ฟองอากาศล้นกระบะผสมปูน เมื่อเทสาร พี 70 หมดแล้ว คนไปไม่ให้มีฟอง ก็หยุดคน ตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง หากพึ่งแดด ก็ประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ถ้าอยากให้แห้งสนิทก็ประมาณ 1 คืน เมื่อเสร็จแล้ว จะได้หัวเชื้อสารแคลเซียมรูปหนึ่งจากเปลือกหอย ที่สามารถละลายน้ำได้ โดยจะเอาไปละลายน้าในถัง 200 ลิตร ในการปริมาณการใช้คือ หัวเชื้อแคลเซียมสกัดจากเปลือกหอย 60 กก. ละลายน้ำ 200 ลิตร P7_RLH20007 P8_RLH20007 วิธีการผสมใช้ไม้คนให้หัวเชื้อละลายให้หมด ใส่น้ำให้ครบตามจานวน รอประมาณ 10-15 นาที ให้ตะกอนที่ไม่ละลายนอนก้นถัง จะได้ปุ๋ยมีลักษณะเป็นสีเหลือง ก็สามารถนำเอาขวดมาบรรจุไปใช้งานได้ โดยอัตราการใช้ คือ ปุ๋ย 1 ลิตร ผสมน้า 1,000 ลิตร ใช้ได้พื้นนาประมาณ 10 ไร่ ใช้ฉีดพ่นทางใบและลำต้น อีกวิธีหากเกษตรกรไม่อยากฉีดพ่น ก็สามารถนาปุ๋ย 1 ลิตร ผสมน้า 250 ลิตร แล้วนำไปฉีดพรมลงในเม็ดปุ๋ยที่จะใช้หว่าน ซึ่งมักจะเป็นปุ๋ยเม็ดกระตุ้นแตกกอและรวง โดยเมื่อนำไปใช้หว่าน จากที่เคยหว่าน 2-3 ไร่ 50 กก. ก็ให้ใช้ 4-5 ไร่ 50 กก. จะเป็นการประหยัดต้นทุนปุ๋ยเคมีได้ ฮอร์โมนพืช สูตร เร่งการเจริญเติบโต ราก ลำต้น ใบ โดยวัตถุดิบที่ใช้ผลิตนี้ ประกอบไปด้วย สารทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต (Ca(H2PO4)2.H2O) แคลเซียมไนเตรท (Ca(NO3)2) และ แคลเซียมอะซิเตท (Ca(CH3COO)2.2H2O)ที่ผลิตได้จากเปลือกหอย และสารประกอบ แมกนีเซียมไนเตรท แมกนีเซียมฟอสเฟต และแมกนีเซียมอะซิตท ที่ผลิตได้จากแร่โดโลไมต์ โดยกรรมวิธีคือ การผลิตสารข้างต้นก่อน จากนำมาสารผสมที่ผลิตจากเปลือกหอย 15 กก. และผลิตจากโดโลไมต์ 15 กก. มาละลายน้ำในถังขนาด 100 ลิตร จำนวนน้ำ 50 ลิตร คนให้ละลายให้มากที่สุด ซึ่งจะเหลือกากตะกอนประมาณ 5-10 % แล้วค่อยเติมกากน้าตาล 10 กก. คนให้เข้ากัน แล้วเติมจุลินทรีย์ ของกรมพัฒนาที่ดิน คือ พด. 2 จำนวน 1 ซอง และพด. 3 จำนวน 1 ซอง คนเบา ให้กระจายอย่างทั่วถึงในถัง จากนั้น ปิดฝาถังไว้ประมาณ 2 วัน ก็เป็นอันว่าใช้งานได้ ปริมาณการใช้โดยทั่วไป คือ ฮอร์โมนพืช 1 ลิตร จะใช้ผสมน้าได้ 1,000 ลิตร ใช้ฉีดพ่นในนาได้ 10 ไร่ ใช้ในช่วงข้าวกำลังต้องการการเจริญเติบโต และสร้างความแข็งแรง P9_RLH20007 การนำเอาหัวเชื้อผงที่ผลิตจากเปลือกหอยและโดโลไมต์ให้สารแคลเซียมและแมกนีเซียมรูปที่เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ มาละลายน้ำ โดยนำเองผงสารประกอบนั้นมา 60 กก. มาละลายน้ำในถัง 200 ลิตร และเติมกากน้าตาล 40 กก. แล้วเติมผงจุลินทรีย์ ของกรมพัฒนาที่ดิน พด.2 และ พด.3 คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาถัง ใช้เวลาหมักประมาณ 2 วัน ก็เป็นอันเสร็จ จากนั้น นำภาชนะ เป็นขวดน้าหรือแกลลอน มาบรรจุไปใช้ P10_RLH20007 วิธีการใช้ วิธีที่ 1 ฉีดพ่นทางใบและลาต้น แล้วตกลงดิน ให้ข้าวดูดซึมทางรากใช้ปุ๋ย 1 ลิตร ผสมน้า 1,000 ลิตร ซึ่งจะใช้ได้ประมาณ 10 ไร่ วิธีที่ 2 ผสมกับปุ๋ยที่จะใช้หว่าน โดยการผสมน้าในอัตรา 1 ลิตร ผสมน้า 250 ลิตร แล้วนาไปพรมหรือสเปรย์ใส่เม็ดปุ๋ย และผึ่งให้แห้ง แล้วค่อยนาไปหว่าน อัตราการหว่านปุ๋ยที่ผสมฮอร์โมนน้านี้ ให้ใช้ไร่ละ 10-15 กก. โดยปกติเกษตรกรจะใช้ปุ๋ยเคมี ประมาณ 50 กก. ต่อ 3 ไร่ P11_RLH20007

ช่องทางการติดต่อ

ผศ.ดร. บรรจง บุญชม (หัวหน้าโครงการ)
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 0 2329 8400-8411 ต่อ 290 0 2329 8000 ต่อ 6234 โทรสาร 0 2329-8415 E-mail kbbanjon@kmitl.ac.th (ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ และ หน่วยวิจัยวัสดุฟอสเฟตและพลังงานเชื้อเพลิงทางเลือก คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3 หมู่ 2 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)
เบอร์ติดต่อ: 0 2329-8400-8411 ต่อ 290, 0 2329-8000 ต่อ 6234 โทรสาร 0 2329-8415
E-mail: kbbanjon@kmitl.ac.th

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด  ดาวน์โหลด 2