รูปแบบการจัดการความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลาพังในเขตภาคเหนือตอนล่าง

738 VIEW

องค์ความรู้

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

สรุปองค์ความรู้

กินอย่างไร ให้เหมาะสมกับวัยสูงอายุ P1_RLH20006 ในวัยสูงอายุ ความต้องการปริมาณอาหารจะลดน้อยลง แต่ความต้องการสารอาหารนั้นยังคงเดิม ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุ ควรจัดให้มีปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญและควรปฏิบัติในการแนะนำอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อให้มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และแข็งแรง P2_20006 อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 1. ควรมีปริมาณสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2. การจัดอาหารแต่ละมื้อควรลดปริมาณน้อยลง และให้กินบ่อยครั้งกว่าเดิมในแต่ละวัน 3. อาหารควรมีลักษณะนุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และเลือกวิธีการปรุงที่เหมาะสมสะดวกต่อการเคี้ยวและการย่อย 4. อาหารประเภทผักต่างๆ ควรปรุงโดยวิธีการต้มหรือนึ่งหลีกเลี่ยงการกินผัดสดที่มีผล ทำให้เกิดแก๊สและทำให้ท้องอืด 5. เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะการย่อยและดูดซึมไขมันน้อยลง อาจจะ ทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้องได้ 6. จัดผลไม้ควรเป็นผลไม้ที่นิ่ม เคี้ยวง่าย เพื่อช่วยในการขับถ่ายและ ให้ได้วิตามิน 7. ขนมหวาน ควรจัดให้ทานบ้างแต่ไม่บ่อยนัก และควรเป็นขนมที่ ให้ประโยชน์แก่ร่างกายด้วย เช่น กล้วยบวชชี เต้าส่วน ลอยแก้ว ผลไม้ เป็นต้น 8. ให้เวลาในการกินอาหารผู้สูงอายุตามสบาย ไม่ควรรีบเร่ง เพราะอาจ สำลัก เคี้ยวไม่ละเอียด หรืออาหารติดคอได้ โดยข้าว 1 คำ= เคี้ยว 40 ครั้ง การออกกำลังกาย P3_20006 ผู้สูงอายุมักจะสูญเสียการทรงตัวและความคล่องตัวและทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการทรงตัวและการล้มในผู้สูงอายุได้ดีขึ้น P4_20006 เพียงมีเก้าอี้ที่มั่นคง จากนั้นให้ใช้มือข้างหนึ่งข้างใด หรือทั้งสองจับอุปกรณ์ดังกล่าว พร้อมกับ ยืนปรับหลังให้ตรง ค่อยๆเขย่งปลายเท้าช้าๆ สูงสุดเท่าที่จะสูงได้ โดยค้างทิ้งไว้ประมาณ 3 วินาที จึงค่อยลดส้นเท้าลงทำสลับไปมา P5_20006 เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงสักตัว จากนั้นค่อยๆ เหยียดขาข้างหนึ่งไปข้างหน้าให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับตั้งปลายเท้าค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ก่อนจะผ่อน ปลายเท้า พร้อมกับลดขากลับสู่ท่าเดิมทำสลับไปมาทั้งสองข้าง เพื่อยืดเส้น และข้อ P6_20006 เริ่มที่ยืน จับโต๊ะ หรือโซฟา ยืดหลังให้ตรงเหมือนท่า หรือท่าเขย่งฝ่าเท้า จากนั้นค่อยๆ งอเข่าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ค้างไว้ 3 วินาที ทำสลับไปมาทั้งสองข้าง P7_20006 ยืนตรงชิดเก้าอี้ จากนั้นให้แยกเท้าประมาณหนึ่งช่วงไหล่ ต่อด้วยค่อยๆ เหยียดขาข้างขวาไปข้างหน้า ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จึงค่อยๆ ลดขาลง กลับสู่ท่าเดิมให้ทำสลับกันทั้งขาซ้าย-ขวา P8_20006 P9_20006 การใช้ยาที่ถูกต้อง 1. ให้ถูกต้องกับคน 2. ให้ถูกชนิดยา 3. ให้ถูกขนาดยา 4. ให้ถูกทาง 5. ให้ถูกเวลา ไม่ควรแลกเปลี่ยนยากับผู้อื่นหรือกินยาของผู้อื่นยาในการรักษาโรคแต่ละโรคที่แตกต่างเป็นมิลลิกรัม เม็ด แคปซูล ทางปาก ทางผิวหนัง หยอดตา หรือ เหน็บทวาร ก่อนอาหาร หรือ หลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการและวันละกี่ครั้ง ผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่ไม่ถูกเวลาและขนาดที่แพทย์จัดให้เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ • รับประทานวันละหลายครั้ง จากการหลงลืมว่าได้ใช้ยาไปหรือยัง • หยุดการใช้ยาเมื่อไม่มีอาการแล้ว • เบื่อการกินยาที่มีจำนวนมาก • สายตาไม่ดีหรือฉลากยาที่เขียนไม่ชัดเจน ทำให้โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับที่ดีได้ เกิดการลุกลามทำลายอวัยวะต่างๆจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรักษาได้ยาก และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ P10_20006 การป้องกันการหกล้ม ปัญหาการหกล้ม มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากการสูญเสียการทรงตัว โดยไม่ได้ตั้งใจ การเฝ้าระวังเรื่องการพลัดตก หกล้มของผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะถ้าเกิดหกล้มแล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบ ตามมามากมายทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เกิดการบาดเจ็บ กังวลใจกลัว อาจต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น P11_20006 ดูแลทางเดินให้โล่ง ไม่มีสิ่งของ กีดขวางทางเดินมีแสงสว่าง เพียงพอ • เปิดไฟตรงทางเดินไปห้องน้ำที่อาจเดินไปตอนกลางคืน • เก้าอี้ที่คุณนั่งควรมั่นคง (ไม่มีล้อ) มีที่วางแขน • การป้องกันสะดุดล้มพรมที่หลุดหรือกระเบื้องที่แตกควรซ่อมแซม • การวางสายไฟตามแนวผนัง ไม่ใช่วางขวางทางเดิน • หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าหลวมๆ หรือแบบไม่หุ้มส้นหรือพื้นรองเท้าที่ลื่น P12_20006 วัสดุที่ใช้ปูพื้นห้องน้ำไม่ลื่น • ห้องอาบน้ำมีที่นั่งขณะอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้า • มีราวเกาะข้างฝาและบริเวณที่ต้องลุกอย่างมั่นคงใช้โถส้วมแบบชักโครก • จัดวางของใช้ให้หยิบจับง่าย ในระดับข้อศอก • เปิดไฟตอนกลางคืนไว้เสมอ หรือใช้ไฟฉาย การป้องกันการลื่นล้มในห้องนอน • จัดของใช้ให้เป็นระเบียบ หยิบจับง่าย ไม่มีของเกะกะตามพื้นห้อง • เว้นที่รอบ ๆ เตียงนอน เพื่อจะเดินได้อย่างสะดวกและ • จัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอโดยเฉพาะทางเดินไปห้องน้ำ • เคลื่อนไหวหรือลุกจากเตียงอย่างช้าๆ • มีไฟฉายไว้ใกล้ที่นอนพอที่จะเอื้อมถึงได้ P13_20006 การลุกขึ้นจากการหกล้ม P14_20006 P15_20006 P16_20006 P17_20006 P18_20006 P19_20006 อาการนอนไม่หลับ คือความลำบากในการเริ่มหลับหรือคงการนอนหลับให้ต่อเนื่องได้ตลอดคืน หรือการนอนหลับที่ไม่รู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอนตอนเช้า ผลทำให้เกิดอาการในเวลากลางวัน เช่น ง่วงนอน อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ ความจำไม่ดี ความสามารถในการคิดตัดสินใจลดลง P20_20006 ทำอย่างไร เมื่อนอนไม่หลับ 1. เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อให้เกิดสุขนิสัยที่ดีในการนอน 2. หากยังไม่ง่วงไม่ควรอยู่บนเตียง ควรหากิจกรรมอื่นๆ ทำที่ทำให้ง่วงหลับได้ 3. จัดกิจกรรมในตอนกลางวัน ให้มีการออกกำลังกายการทำงานอดิเรก 4 .หลีกเลี่ยงการงีบหลับในเวลากลางวัน 5. ผู้สูงอายุควรถ่ายปัสสาวะก่อนเข้านอนหรือจัดที่นอนให้อยู่อยู่ใกล้ห้องน้ำหรือเตรียมกระโถนสำหรับปัสสาวะไว้ในห้องนอน 6. งดดื่มเครื่องดื่มที่กระตุ้น เช่น กาแฟ ชา และเครื่องดื่มชูกำลัง รวมถึงการงดสูบบุหรี่ 7. ผู้สูงอายุควรดื่มนมอุ่นๆ ก่อนเข้านอนเพราะนมมีกรดอะมิโนซึ่งเป็นยานอนหลับทางธรรมชาติ 8. จัดสถานที่ห้องนอนให้สะอาด เงียบ และอากาศถ่ายเทได้ดี 9. ควรหลีกเลี่ยงจากเสียงรบกวนต่าง ๆ ไม่ควรเอาโทรทัศน์และโทรศัพท์ไว้ในห้องนอน 10. ถ้ามีโรคทางกาย ควรกินยาให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายปกติ ก็จะสามารถนอนหลับได้อย่างต่อเนื่อง 11. การฝึกสมาธิ และการปฏิบัติธรรมเป็นทางเลือกอีกอย่างที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น 12. ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงจากแสงสว่างที่มีระดับความเข้มของแสงมากเกินไป โดยการปิดไฟ ปิดม่าน อัมพาตกับผู้สูงอายุ คนไทยเสียชีวิตจากโรคอัมพาตปีละกว่า 13,000 คน เฉลี่ยวันละ 37 คนมีแนวโน้มสูงขึ้นในผู้สูงอายุ อัมพาต (Stroke) หมายถึง อาการอ่อนแรงครึ่งซีกของร่างกาย หรือครึ่งท่อนล่างของร่างกาย ที่มีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือ ไขสันหลัง ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดตีบหรือแตกก็ได้ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่เป็นประมาณ 2-4 เท่า ผู้ที่มี โรคหลอดเลือดหัวใจ มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนไม่เป็นประมาณ 1-3 เท่า อัมพาตจะพบมากขึ้นตามอายุทั้งเพศชายและหญิง เช่น อายุ 45-54 ปี พบอัมพาต ประมาณ 1 ต่อ ประชากร 1000 ราย อายุ 56-64 ปี พบอัมพาต ประมาณ 1 ต่อ ประชากร 100 ราย อายุ 75-84 ปี พบอัมพาต ประมาณ 1 ต่อ ประชากร 50 ราย อายุ 75-84 ปี พบอัมพาต ประมาณ 1 ต่อ ประชากร 50 ราย สาเหตุของอัมพาต เกิดจาก โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เบาหวานสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอัมพาต ทั้งสิ้น อัมพาต “ป้องกัน ย่อมดีกว่าการรักษา” การป้องกัน อาการนำก่อนเป็นอัมพาต เป็นสิ่งสำคัญ ในการป้องกันอัมพาตมาก ถ้าให้การรักษาในระยะนี้ จะมีผลดีมาก 1. ปวดศีรษะ เช่น ความดันโลหิตสูงก็จะปวดมาก แถวท้ายทอย และด้านหน้า เป็นมากตอนเช้า หลังตื่นนอน 2. อาเจียน เป็นอาการแสดงว่ามีความผิดปกติของความดันในสมองซึ่งอาจเกิดจากเนื้องอก หรือก้อนเลือดก็ได้ 3. อาการวิงเวียนบ้านหมุน เป็นอาการแสดงว่ามีความผิดปกติของสมองโดยมากเป็นส่วน ที่เกี่ยวกับการทรงตัว อาการเดินเซ หรือหกล้มได้ 4. อาการชา - แขน ขา หรือชาทั้งครึ่งซีกเลย ซึ่งอาการนำเรื่องชานี้มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับอัมพาตมาก ผู้ป่วยอาจจะเป็นอัมพาตตามมาในเวลาเป็นวัน หรือสัปดาห์หลังจากอาการชาได้ 5. อาการปวดเสียวครึ่งซีก - อาการปวดเสียวมักจะร่วมกับอาการชา 6. อาการชัก - อาจจะเป็นแบบชักครึ่งซีกหรือชักแบบทั้งสองข้างซึ่งเป็นอาการชนิดหนึ่ง ที่มีความผิดปกติของสมอง 7. อาการตาบอดชั่วคราว ตาก็เป็นส่วนหนึ่งของสมอง และเส้นเลือดที่มาเลี้ยงลูกตาก็ร่วมกันกับ อาการที่มีตาบอดชั่วคราวเป็นผลมาจากเส้นเลือดตีบมาก ถึงกับทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงลูกตา

ช่องทางการติดต่อ

รศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน (หัวหน้าโครงการ)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์,ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
เบอร์ติดต่อ: 0 5596 8607 08 1785 1970
E-mail: narongsakn@nu.ac.th nnoosorn@yahoo.com

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด  ดาวน์โหลด 2