การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน

1,052 VIEW

องค์ความรู้

น้ำยางพาราในระบบชลประทาน

สรุปองค์ความรู้

น้ำยางพาราในระบบชลประทาน แนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน การใช้วัสดุเคลือบผิวคลองผสมน้ำยางมอร์ต้าและคอนกรีตผสมน้ำยางเพื่อใช้ในการซ่อมแซมคลองชลประทาน เพื่อเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เป็นแนวทางในการซ่อมแซมคลองชลประทาน P1_RLH20005 P2_RLH20005 ผนังคอนกรีตมีรอยแตกด้านข้างคลองส่งน้ำและโพรงบริเวณคันคลองและรอยแตกร้าวและการโก่งงอ P3_RLH20005 มีรอยแตกบริเวณส่วนเชื่อมต่อของท่อรับน้ำถึงอาคารชักน้ำเข้านา P4_RLH20005 คลองที่มีการแตกร้าวตามผนังและมีวัชพืชขึ้นตามรอยแตกร้าวมีตะกอนดินทับทมท้องคลองและมีรูโพรงทีเกิดในคอนกรีต P5_RLH20005 คลองที่มีรอยแตกทั้งสองด้านของผนังคอนกรีตต้องมีการอุดด้วย Para mortar P6_RLH20005 การกัดกร่อนตามผนังและท้องคลองส่งน้ำเนื่องจากสารละลายซัลเฟสและกรดอะซิลิค วัสดุที่ใช้ผสมวัสดุเคลือบผิวคลองมอร์ต้าและคอนกรีตผสมน้ำยางพารา P7_RLH20005 ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการผสมใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 และมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.15 ปูนซีเมนต์ที่ใช้ต้องเป็นปูนซีเมนต์ที่ใหม่ ไม่เสื่อมคุณภาพ และไม่เปียกชื้นหรือจับตัวเป็นก้อน ในฤดูฝนห้ามใช้ปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้นานกว่า 1 เดือน ส่วนในฤดูแล้งห้ามใช้ปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้นานกว่า 3 เดือน นับอายุตั้งแต่โรงงานผลิต P8_RLH20005 ทรายที่นำมาผสมคอนกรีต เป็นชนิดทรายน้ำจืด สามารถแบ่งตามแหล่งที่มาได้ 2 ชนิด ได้แก่ ทรายแม่น้ำ และทรายบก ทรายแม่น้ำ เป็นทรายที่เกิดจากการกัดเซาะของกระแสน้ำแล้วค่อยๆ ตกตะกอนสะสมกลายเป็นแหล่งทรายที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะตกตะกอนอยู่บริเวณต้นน้ำ ส่วนทรายละเอียดนั้นถูกกระแสน้ำพัดพามารวมกันบริเวณท้ายน้ำ ทรายบก เป็นทรายที่เกิดการตกตะกอนที่ทับถมกันของลำน้ำเก่า ที่แปรสภาพเป็นพื้นดิน โดยมีซากพืชและสัตว์ทับถมกันบริเวณผิวหน้า ซึ่งเรียกว่าหน้าดิน มีความหนาประมาณ 2 - 10 เมตร ทรายที่ใช้จะต้องสะอาด ปราศจากสารอินทรีย์ และสิ่งไม่พึงประสงค์เจือฝน ให้เป็นไปตามคุณสมบัติตามาตรฐานวัสดุของกรมชลประทาน P9_RLH20005 หินย่อย : หินย่อยที่ใช้ผสมคอนกรีตนี้ต้องเป็นหินที่โม่ด้วยเครื่องจักร มีลักษณะรูปร่างเหลี่ยมค่อนข้างกลม ให้เป็นไปตามคุณสมบัติตามมาตรฐานวัสดุของกรมชลประทาน กรวดที่ใช้ผสมคอนกรีตต้องเป็นกรวดที่มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างกลม มีส่วนแบนเรียวน้อยให้เป็นไปตามคุณสมบัติตามมาตรฐานวัสดุของกรมชลประทาน P10_RLH20005 น้ำยางพารา (พรีวัลคาไนซ์) น้ำยางพาราที่ใช้ผสมในวัสดุเคลือบผิว มอร์ต้า และคอนกรีต ใช้น้ำยางพรีวัลคาไนซ์ น้ำยางพรีวัลคาไนซ์ (Prevulcanized latex) คือ น้ำยางที่วัลคาไนซ์ในสภาวะของเหลวและขึ้นรูปเป็นยางวัลคาไนซ์ได้โดยไม่ต้องให้ความร้อนอีก น้ำยางพรีวัลคาไนซ์ยังคงสถานะเป็นของไหลและมีลักษณะทั่วไปเหมือนเดิม น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตต้องสะอาด ปราศจากด่าง น้ำมัน วัชพืชเน่า และสารเจือปนอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติของวัสดุเคลือบผิว มอร์ต้า และคอนกรีต P11_RLH20005 เถ้าแกลบละเอียด หลักการในการผสมวัสดุเคลือบผิวคลองซึ่งวัสดุที่ใช้ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ เถ้าแกลบละเอียด น้ำและน้ำยางพารา หลักการในการผสมวัสดุเคลือบผิวคลองซึ่งวัสดุที่ใช้ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ เถ้าแกลบละเอียด น้ำและน้ำยางพารา P12_RLH20005 การผสมวัสดุเคลือบผิวโดยการใช้มือ (Hand Mixing) ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เตรียมน้ำยางพารา (พรีวัลคาไซน์) 150 กรัม และน้ำสะอาด 340 กรัม ผสมน้ำและน้ำยางเข้าด้วยกันก่อนที่จะนำไปผสมปูนซีเมนต์และเถ้าแกลบ P13_RLH20005 P14_RLH20005 2 . ปูนซีเมนต์จำนวน 1000 กรัม และเถ้าแกลบละเอียด จำนวน 50 กรัม ให้เข้ากันโดยผสมในถังผสมหรือชามขนาดใหญ่ และก่อให้เป็นรูปกรวยโดยมีหลุมอยู่ตรงกลางกรวยนำน้ำและน้ำยางที่ผสมเข้ากันดีแล้วเทลงในหลุม P15_RLH20005 P16_RLH20005 3. ใช้เกรียงตักปูนซีเมนต์ที่ผสมเถ้าแกลบจากขอบด้านนอกใส่ลงในหลุมภายในเวลา 30 วินาที ทิ้งปูนซีเมนต์ผสมเถ้าแกลบให้ดูดซึมน้ำและน้ำยางเป็นเวลา 30 วินาที เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหย ค่อยๆ ใช้เกรียงตักปูนซีเมนต์รอบกรวย P17_RLH20005 4. ใช้เกรียงผสมคลุกเคล้าให้เนื้อวัสดุเคลือบผิวเข้ากันด้วยดีและนำวัสดุเคลือบผิวคลองไปฉาบ ตามผนังคลองชลประทาน P18_RLH20005 การเตรียมวัสดุที่ต่างๆ ที่ใช้ผสมมอร์ต้า ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ และน้ำยาง P19_RLH20005 เตรียมน้ำยางพารา (พรีวัลคาไซน์) 50 กรัม และน้ำสะอาด 480 กรัม ผสมน้ำและน้ำยาง เข้าด้วยกันก่อนที่จะนำไปผสมปูนซีเมนต์และทราย P20_RLH20005 นำปูนซีเมนต์จำนวน 1000 กรัม และทรายจำนวน 2750 กรัม ลงในถังผสม คลุกเคล้า ให้เข้ากัน หลังจากนั้นก่อให้เป็นรูปกรวยโดยมีหลุม อยู่ตรงกลางกรวย เทน้ำและน้ำยางที่ผสมกันแล้วลงในหลุม P21_RLH20005 ใช้เกรียงตักปูนซีเมนต์ผสมทรายจากขอบด้านนอกใส่ลงไปในหลุมภายในเวลา 45 วินาที ทิ้งปูนซีเมนต์และทรายให้ดูดซึมน้ำและน้ำยางเป็นเวลา 45 วินาที เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหย ค่อยๆ ใช้เกรียงตักมอร์ต้ารอบกรวย ใช้มือที่สวมถุงมือยางผสมคลุกเคล้าให้มอร์ต้าให้เข้ากันได้ที่ แล้วนำไปซ่อมแซมรอยแตกร้าวตามผนังคลอง P22_RLH20005 การเตรียมตัวอย่างคอนกรีตสำหรับการออกแบบส่วนผสมโดยปริมาตร สำหรับงานก่อสร้างขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะกำหนดสัดส่วนผสมโดยปริมาตร เช่น 1:2:4 อัตราส่วนที่กล่าวถึงนี้คือ ใช้ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน หิน 4 ส่วน และปริมาณน้ำยางที่ใช้ 12.5% ของปริมาณน้ำที่ใช้ผสมในคอนกรีต โดยปริมาตรการที่จะเปลี่ยนส่วนผสมโดยปริมาตรดังกล่าวให้เป็นส่วนผสมโดยน้ำหนักสามารถทำได้ดังนี้ การคำนวณ - ปูน 1 ถุง 50 กก. มีปริมาตร = 50/1400 = 0.036 ลบ.ม. - ทราย 2 ส่วน มีปริมาตร = 0.036x2 = 0.072 ลบ.ม. - น้ำหนักทราย = 0.072x1450 = 104 กก. - หิน 4 ส่วน มีปริมาตร = 0.036x4 = 0.144 ลบ.ม. - น้ำหนักหิน = 0.144x1450 = 209 กก. ปริมาณน้ำที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับปูน 1 ถุง เพื่อให้ได้ค่ายุบตัวประมาณ 10 ซม. เท่ากับ 30 ลิตรดังนั้นน้ำหนักของส่วนผสมทั้งหมดเมื่อใช้ปูน 1 ถุง = 50 + 104 + 209 + 30 = 393 กก. หน่วยน้ำหนักของคอนกรีต 1 ลบ.ม. เท่ากับ 2400 กก. สรุป ส่วนผสมใน 1 ลบ.ม. - ปูนซีเมนต์ 370 กก./ลบ.ม. - ทราย 775 กก./ลบ.ม. - หิน 995 กก./ลบ.ม. - น้ำ 200 กก./ลบ.ม. - ค่ายุบตัวประมาณ 10 ซม. จากผลการคำนวณจะได้ปริมาณน้ำที่ใช้ในผสมคอนกรีต 1 ลบ.ม. เท่ากับ 200 กก./ลบ.ม. หรือเท่ากับ 200 ลิตร ปริมาณน้ำยางที่ใช้ 12.5% ของ ปริมาณน้ำที่ใช้ผสมในคอนกรีต ดังนั้น น้ำยางพารา 25 ลิตร +น้ำสะอาด 175 ลิตร P23_RLH20005 P24_RLH20005 P25_RLH20005 P26_RLH20005 ตัวอย่างคลองชลประทานที่มีการขุดลอกตะกอนและจำกัดวัชพืชเรียบร้อยแล้ว P27_RLH20005 P28_RLH20005 การซ่อมแซมรอยแตกร้าวตามผนังคลองโดยใช้มอร์ต้าผสมน้ำยาง P29_RLH20005 P30_RLH20005

ช่องทางการติดต่อ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน แ (หัวหน้าโครงการ)
อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 โทรศัพท์ 02-457-0068 ต่อ 5244 โทรสาร 02-457-0068 ต่อ 5244, 02-457-3982
เบอร์ติดต่อ: 0 2457 0068 ต่อ 5244 โทรสาร 0 2457 0068 ต่อ 5244, 02-457-3982