การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลา

1,811 VIEW

องค์ความรู้

การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวาย

สรุปองค์ความรู้

การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวาย ไรน้ำนางฟ้าไทยมีลักษณะลำตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวเมียจะมีสีเข้มกว่าตัวผู้ มีถุงไข่ 1 ถุง รูปร่างกลมยาวหรือกลมรี ปลายเรียวลงคล้ายก้นกรวยมีช่องเปิดที่ปลายสุด ไข่มีลักษณะเป็นรูปวงกลมคล้ายตะกร้อ ลำตัวยาวประมาณ 1.7 - 4.3 เซนติเมตร ส่วนตัวผู้จะมีหนวดคู่ที่ 2 ขยายใหญ่มองดูคล้ายงวงไว้ใช้สำหรับเกาะตัวเมียเวลาผสมพันธุ์ P1_RLH20004 การฟักไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทยโดยนำไข่ของไรน้ำที่ตากแห้ง มาแช่ในน้ำสะอาดจะใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 24-36 ชั่วโมงเมื่อไรน้ำฟักเป็นตัวอ่อน จะให้อาหารโดยใช้น้ำจากบ่อเลี้ยงปลาสวายเมื่อไรน้ำมีอายุ 8-9 วันจะเป็นตัวเต็มวัย เริ่มทำการปล่อยไข่โดยเฉลี่ยจะวางไข่วันละ 1 ครั้งไรน้ำนางฟ้าไทยจะมีอายุประมาณ 25-30 วันเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตตัวไรน้ำนางฟ้าไทยเมื่อเลี้ยงได้ 15 วันเป็นต้นไปไข่ที่เก็บจากไรน้ำนางฟ้าไทยจะต้องแช่อยู่ในน้ำประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 1 เดือนแล้วจึงนำมาตากแห้งใส่ถุงพลาสติกห่อกระดาษฟอยล์แล้วเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลาหลายเดือน P2_RLH20004 P3_RLH20004 P4_RLH20004 P5_RLH20004 P6_RLH200004 ไรน้ำนางฟ้าไทย (Thai fairy shrimp) พบในธรรมชาติมานานแล้ว คนอีสานเรียกว่า แมงอ่อนช้อย แมงหางแดง หรือ แมงแงว หรือ แมงน้ำฝน ช่วงเวลาที่พบไรน้ำนางฟ้าไทยในธรรมชาติจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม แต่ปัจจุบันสามารถทำการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยได้ตลอดทั้งปี ขั้นตอนการฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยการฟักไข่แบบใช้ถุงซิป 1. นำไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยใสในถุงซิปจากนั้นใส่น้ำลงไปในถุงเขย่าให้ไข่เปียกจนทั่วแซไข่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที 2. เตรียมภาชนะสำหรับฟักไข่เติมน้ำที่สะอาดลงไปในภาชนะฟักไข่ถ้าเป็นน้ำประปาควรพักน้ำก่อนจนปราศจากคลอรีน 3. นำไข่ที่อยู่ในถุงซิปมาเทใส่ลงในภาชนะฟักไข่ควรตั้งไว้ที่ที่มีแสงส่องผ่านรำไรระยะเวลาในการฟักประมาณ 24-36 ชั่วโมง P7_RLH20004 การฟักไข่แบบใช้สวิงครอบ นำไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยใส่ลงในสวิงตาถี่ขนาดตา 200 ไมโครเมตรควสวิงที่มีไข่ไรน้ำลงในภาชนะฟักไข่ (กะละมัง) เติมน้ำให้ท่วมตัวเนื้อสวิงซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการครอบไข่ไรน้ำให้จมลงในน้ำทั้งหมดเมื่อครบ 24 ชั่วโมงไข่ไรน้ำที่ฟักเป็นตัวจะลอดผ่านช่องออกมาด้านนอกของสวิงเกษตรกรสามารถดูดตัวอ่อนของไรน้ำออกมาโดยที่ไม่มีเปลือกไข่ติดออกมาด้วยจากนั้นนำตัวอ่อนของไรน้ำนางฟ้าไทยไปอนุบาลต่อไป P8_RLH20004 P9_RLH20004 การฟักไข่แบบใช้สวิงครอบอาหารของไรน้ำนางฟ้าไทยในน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวายการเลี้ยงปลาสวายในบ่อดินจังหวัดนครสวรรค์น้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลาสวายมีคุณภาพน้ำแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลาสวายที่สามารถนำมาใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยได้คือบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดอย่างเดียวบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดผสมอาหารอื่นเช่นปลายข้าวรไส้ไก่บ่อที่เลี้ยงด้วยมูลสุกรผสมอาหารอื่นเช่นอาหารเม็ดปลายข้าวแช่น้ำหัวปลาไส้ไก่บ่อที่เลี้ยงด้วยหัวปลาบดผสมกับเศษผักส่วนน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวายที่เลี้ยงด้วยเศษอาหารคนนำมาเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยไม่ได้ อาหารของไรน้ำนางฟ้าไทยในน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวายการเลี้ยงปลาสวายในบ่อดินจังหวัดนครสวรรค์น้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลาสวายมีคุณภาพน้ำแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลาสวายที่สามารถนำมาใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยได้คือบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดอย่างเดียวบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดผสมอาหารอื่นเช่นปลายข้าวรไส้ไก่บ่อที่เลี้ยงด้วยมูลสุกรผสมอาหารอื่นเช่นอาหารเม็ดปลายข้าวแช่น้ำหัวปลาไส้ไก่บ่อที่เลี้ยงด้วยหัวปลาบดผสมกับเศษผักส่วนน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวายที่เลี้ยงด้วยเศษอาหารคนนำมาเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยไม่ได้ P10_RLH20004 คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาที่สามารถเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาสวายที่สามารถนำมาใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยได้คือ 1. น้ำจากบ่อเลี้ยงที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดหรืออาหารเม็ดผสมอาหารอื่นเช่นปลายข้าวไส้ไก่ 2. น้ำจากบ่อที่เลี้ยงด้วยมูลสุกรผสมกับอาหารอื่นเช่นอาหารเม็ดปลายข้าวไส้ไก่ 3. น้ำจากบ่อที่เลี้ยงด้วยหัวปลาไส้ปลาบดผสมกับเศษผักเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาอาจสังเกตคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเบื้องต้นจากสีของน้ำพฤติกรรมของปลาสวายที่เลี้ยงในบ่อและค่าความโปร่งใสซึ่งสามารถวัดโดยใช้เซคซิดิสก์อาจทำจากแผ่นไม้เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตรทาสีขาวสลับดำแบ่งเป็น 4 ส่วนตรงกลางเป็นตะขอใช้เกี่ยวกับเชือกมีตุ้มถ่วงน้ำหนักหย่อนลงในบ่อปลาและบันทึกระยะที่สายตาเริ่มมองไม่เห็นแผ่นดิสก์ P11_RLH20004 สีของน้ำน้ำในบ่อเลี้ยงปลาสวายจะมีสีเขียวหรือเขียวปนน้ำตาลขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเลี้ยงและชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาสวายเช่นบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดอย่างเดียว (ภาพที่ 8) ซึ่งมักจะใช้อาหารปลากินพืชหรืออาหารสุกรที่มีราคาตำเพื่อลดต้นทุนการผลิตบ่อประเภทนี้น้ำจะมีสีเขียวปนน้ำตาลมีค่าความโปร่งใส 13-15 เซนติเมตร P12_RLH20004 บ่อปลาสวายที่เลี้ยงด้วยมูลสุกรผสมกับอาหารอื่นเช่นอาหารเม็ดปลายข้าวไส้ไก่สีน้ำที่พบในบ่อประเภทนี้เป็นสีเขียวถึงเขียวเข้มค่าความโปร่งใสประมาณ 15-20 เซนติเมตรบ่อที่มีมูลสุกรไม่มากนักและมีการพักเลี้ยงสุกรในบางช่วงสีของน้ำจะเป็นสีเขียวใสส่วนบ่อที่มีมูลสุกรลงไปในบ่อจำนวนมากและไม่มีการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยเปลี่ยนถ่ายน้ำบางช่วงจะมีขี้แดดมาก ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่เหมาะสมในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย การอนุบาลไรน้ำนางฟ้าไทย หากเกษตรกรมีบ่อปูนที่ใช้อนุบาลลูกปลาสามารถใช้บ่อนั้นอนุบาลได้โดยการล้างบ่อให้สะอาดเติมน้ำให้ได้ระดับประมาณ 40 เซนติเมตรหากไม่มีบ่อปูนสามารถใช้ถังพลาสติกขนาด 500 ลิตร ใช้ในการอนุบาลไรน้ำนางฟ้าไทยจากนั้นใช้น้ำจากบ่อเลี้ยงปลาใส่ลงในบ่ออนุบาลน้ำในบ่อปลานั้นจะมีแพลงกตอนพืชที่เป็นอาหารสำหรับไรน้ำนางฟ้าไทยโดยระยะแรกจะให้น้ำที่ความเข้มข้นไม่มากทำได้โดยดูดน้ำจากบ่อเลี้ยงปลามาผสมกับน้ำสะอาดหรือน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ P13_RLH20004 รวบรวมตัวอ่อนนำตัวอ่อนไรน้ำนางฟ้าไทยที่ฟักออกจากไข่หลังจากแช่ไว้ในภาชนะฟักไข่เป็นเวลา 24-36 ชั่วโมงมารวบรวมลงบ่ออนุบาลโดยใช้ภาชนะทึบแสงแล้วปิดภาชนะที่ฟักไขให้มีช่องเล็กน้อยเพื่อให้แสงส่องผ่านได้เนื่องจากไรน้ำนางฟ้าไทยแรกฟักจะชอบมาเล่นที่แสงเราจะสามารถใช้สายยางดูดไรน้ำนางฟ้าไทยลงในถังอนุบาลได้ง่ายขึ้น P14_RLH20004 การให้อาหารไรน้ำนางฟ้าไทยเริ่มให้อาหารไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุประมาณ 2 วันโดยใช้น้ำจากบ่อเลี้ยงปลาความถี่ในการให้อาหารสังเกตจากสีน้ำถ้าน้ำใสแสดงว่าอาหารของไรน้ำนางฟ้าไทยหมดก็ให้เติมน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาลงในบ่ออนุบาลการสังเกตว่าไรน้ำนางฟ้าไทยได้รับอาหารเพียงพอหรือไม่ให้สังเกตจากข์ของไรน้ำนางฟ้าไทยซึ่งจะมองเห็นเป็นสายสีดำยาวทางด้านท้ายตัว P15_RLH20004 เมื่ออนุบาลไรน้ำนางฟ้าไทยจนมีอายุ 5 วันเกษตรกรสามารถนำไรน้ำนางฟ้าไทยไปเลี้ยงต่อในกระชังหรือเลี้ยงในบ่อปูนตามเดิมอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงเชิงพาณิชย์คือ 10 ตัวต่อลิตร การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยเชิงพาณิชย์อาจทำได้ 2 รูปแบบคือ 1. เลี้ยงในกระชังในบ่อเลี้ยงปลาการเลี้ยงวิธีนี้จะใช้มุ่งฟ้าทำเป็นกระชังกางลงในบ่อเลี้ยงปลาขนาดที่สามารถจัดการได้สะดวกอาจทำกระชังขนาด 6x3x1 เมตรกระชังจะมีส่วนที่อยู่ใต้ระดับผิวน้ำ 50 เซนติเมตร ปริมาตรน้ำในกระชังเท่ากับ 9, 000 ลิตรเลี้ยงที่อัตราความหนาแน่นที่ 10 ตัวต่อลิตรดังนั้นใน 1 กระชังจะปล่อยไรน้ำนางฟ้าไทย 90, 000 ตัวโดยใช้ไรน้ำนางฟ้าไทยจากถังที่อนุบาลจนมีอายุ 5 วันแล้วจึงจะนำมาปล่อยลงกระชังแล้วเลี้ยงในกระชังอีกประมาณ 10 วันการจัดการระหว่างการเลี้ยงสามารถเลี้ยงโดยปล่อยกระชังแช่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องสูบน้ำเข้ากระชังก็ได้โดยเฉพาะถ้าเป็นกระชังใหม่ตากระชังจะยังไม่ถูกอุดตันด้วยตะกอนในบ่อปลาแต่ถ้าสามารถสูบน้ำในบ่อเลี้ยงเข้ากระชังในช่วงเวลากลางคืนจะทำให้ไรน้ำนางฟ้าไทยได้รับอาหารได้เต็มที่มากขึ้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนละลายให้แก่น้ำในกระชังช่วยให้ไรน้ำนางฟ้าไทยมีการเจริญเติบโตมากขึ้น P16_RLH20004 การเก็บไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยผู้เลี้ยงต้องทำการรวบรวมไข่เพื่อใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยรุ่นต่อไปกรณีเลี้ยงในกระชังการเก็บไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยในกระชังจะเริ่มเก็บไข่เมื่อเลี้ยงไรน้ำจนมีอายุประมาณ 9 วันโดยใช้สวิงตักไรน้ำในกระชังขึ้นมาใส่ในกะละมังที่มีน้ำอยู่วิธีนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ไรน้ำปล่อยไขออกมาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ไรน้ำปล่อยไข่ออกมาจากนั้นตักไรน้ำนางฟ้าไทยลงเลี้ยงในกระชังต่อทำการเก็บไข่วันละ 1 ครั้งระยะห่างกันประมาณ 24 ชั่วโมงดังนั้นจึงควรเก็บรวบรวมไขในช่วงเวลาเดียวกันของทุกวัน 2. เลี้ยงในบ่อการเลี้ยงในบ่อกรณีที่เกษตรกรมีบ่อปูนที่ใช้ในการผลิตลูกปลาขายอยู่แล้วสามารถใช้บ่อปูนนั้นได้โดยไม่ต้องลงทุนหากไม่มีบ่อปูนอาจลงทุนสร้างบ่อปูนเนื่องจากการเลี้ยงในบ่อปูนสามารถเก็บผลผลิตและไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยได้ง่ายกว่าเลี้ยงในกระชังโดยการตั้งระบบและเวลาในการให้อาหารก็จะทำให้การผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยจากน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก (ภาพที่ 21) การตั้งระยะเวลาในการให้อาหารไรน้ำนางฟ้าไทยให้ผู้เลี้ยงสังเกตจากสีน้ำที่ไรน้ำนางฟ้าไทยกินอาหารเมื่อเห็นว่าน้ำใสก็ให้เติมอาหารเพิ่มทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำในบ่อเลี้ยงปลาว่ามีแพลงก์ตอนมากน้อยเพียงใดวิธีการให้อาหารเช่นถ้าต้องการให้อาหารวันละ 6 ครั้งให้สูบน้ำจากบ่อเลี้ยงปลามาใส่ในบ่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยที่ตั้งระบบน้ำล้นกลับเข้าบ่อเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงเว้นระยะ 3 ชั่วโมงสลับกันไป P17_RLH20004 กรณีเลี้ยงในบ่อการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยในบ่อจะสามารถเก็บรวบรวมไข่ง่ายกว่าในกระชังมีวิธีการคือเมื่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยได้ 15 วันจะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตไรน้ำส่วนไข้ของไรน้ำจะตกอยู่ที่พื้นบ่อเพราะไรน้ำจะเริ่มมีการปล่อยไข่ตั้งแต่อายุประมาณ 9 วันและจะปล่อยไขไปเรื่อยๆจนกว่าจะตายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตไรน้ำนางฟ้าหมดแล้วทำการรวบรวมไข่โดยเปิดน้ำออกแล้วใช้สวิงตาถี่ดักที่ปลายท่อน้ำทิ้งของบ่อล้างตะกอนก้นบ่อออกให้หมดจากนั้นก็นำสวิงที่ดักไข่ไปล้างน้ำให้สะอาดจนกระทั่งไม่มีตะกอนก็จะเหลือแต่ไข่ไรน้ำนางฟ้าไทย P18_RLH20004 ไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เก็บได้ทั้ง 2 วิธีจะแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2- 4 สัปดาห์จากนั้นตากไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยให้แห้งเมื่อไข่แห้งแล้วสามารถเก็บไว้เพื่อนำมาฟักต่อได้ P19_RLH20004 การเก็บเกี่ยวผลผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยเมื่อเลี้ยงได้อายุประมาณ 15 วันจากวันฟักไข่ใช้สวิงตักไรน้ำนางฟ้าไทยแล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนที่จะนำมาบรรจุโดยใสในถุงซิปซึ่งไรน้ำนางฟ้าไทยให้มีน้ำหนักถุงละ 80 กรัมแล้วเติมน้ำสะอาดลงไป 20 กรัมรวมเป็นน้ำหนัก 100 กรัม (ในการบรรจุจะใส่น้ำร้อยละ 20 เพื่อรักษาเซลล์ของไรน้ำนางฟ้าไทยขณะแช่แข็ง) จากนั้นสามารถนำไรน้ำนางฟ้าไทยไปแช่แข็งได้ P20_RLH20004 P21_RLH20004 P22_RLH20004 P23_RLH20004 P24_RLH20004 P25_RLH20004

ช่องทางการติดต่อ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน (หัวหน้าโครงการ)
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 โทรศัพท์ 056-219100 ต่อ 2301 โทรสาร 056-882731
เบอร์ติดต่อ: 0 5621 9100 ต่อ 2301 08 3116 1718 โทรสาร 0 5688 2731
E-mail: chongdee@nsru.ac.th