การย้อมสีไหมด้วยเปลือกมะขาม
การย้อมสีไหมด้วยเปลือกมะขาม P1_RLH20004 ไหม ถือว่าเป็น “ราชินีแห่งใยผ้า” ลักษณะของใยไหม มีคุณสมบัติโดดเด่นกว่าเส้นใยอื่นๆ ดังนี้ 1. ให้ความรู้สึกสัมผัสแห้งเสมอ 2. มีความเงางามมีประกายแวววาว 3. ดูด ความชื้นได้ดี เวลาสวมใส่รู้สึกสบาย เ มื่อเปียก ไม่แนบติด ตัวมากจนเกินไป 4. อ่อนตัวแต่คงรูป จับจีบได้ดี 5. ต้านทานแรงดึงดูดได้สูง ทนทาน ก่อนย้อมสีไหมจะต้องนำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ เดิมการฟอกไหมนิยมใช้น้ำด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “การดองไหม” แต่ในปัจจุบันสามารถได้โดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง จะทาให้เส้นไหมมีสีขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำไปย้อม P2_RLH20004 วิธีการย้อมไหม ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ สามารถทำได้โดยการคั้นเอาน้ำจากพืชที่ให้สีนั้น ๆ ต้มให้เดือด จากนั้นน้ำไหมชุบน้าให้เปียก บิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้ำย้อมสี นำไปผึ่งให้แห้ง จะได้สีไหมตามต้องการ สมัยก่อนนิยมย้อมไหมด้วยสีจากธรรมชาติ เช่น สีแดงจากครั่ง ผลและใบคาแสด รากยอป่ามะไฟป่า หรือรากของต้นเข็ม สีเหลืองจากแก่นของต้นเข สีจำปาหรือสีส้มจากดอกคาแสดหรือดอกกรรณิการ์ สีน้ำเงินจากต้นคราม สีเหลืองจากเปลือกไม้มะหูด สีเขียวมะกอกจากแก่นไม้ขนุน เปลือกนนทรีและเปลือกต้นตะแบก สีไพลจากใบสัปปะรดอ่อนกับน้ำมะนาว สีน้ำตาลจากต้นหมาก สีม่วงจากต้นหว้า สีดำจากมะเกลือ รากต้นชะพลูและสมอ การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย ข้อเสียของ การย้อมสีธรรมชาติคือใช้เวลาในการต้มน้ำย้อมจากพืชเป็นเวลานาน วัตถุดิบมีน้อยไม่เพียงพอ อาจขาดแคลนวัตถุดิบในบางฤดูกาล กระบวนการผลิตค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เวลานานในการเตรียมวัตถุดิบและสกัดสี สิ้นเปลืองพลังงาน ไม่มีสูตรการย้อมที่แน่นอน วิธีการย้อมไม่มีมาตรฐาน การย้อมแต่ละสีที่ได้ไม่เหมือนเดิม เนื่องจากสีที่สกัดได้มักไม่บริสุทธิ์มีสารอื่นเจือปน สีที่ได้ไม่สดใส สีตกง่าย มีความคงทนต่าทั้งต่อการซักและแสงแดด P3_RLH20004 P4_RLH20004 เส้นไหมดิบและโครงสร้างเส้นใย วัสดุอุปกรณ์การย้อมไหม ได้แก่ P5_RLH20004 หม้อ P6_RLH20004 เตา P7_RLH20004 ถ่าน P8_RLH20004 ผ้าขาวบาง P9_RLH20004 ไม้พาย P10_RLH20004 มีด เขียง P11_RLH20004 ครกและสาก P12_RLH20004 กระทะ P13_RLH20004 สารส้ม P14_RLH20004 เส้นไหม P15_RLH20004 ห่วงย้อมไหม P16_RLH20004 เปลือกต้นมะขาม P17_RLH20004 เมล็ดมะขาม วิธีการลอกกาวไหมหรือฟอกเส้นไหมก่อนย้อม 1. นำไหมที่ต้องการลอกกาว ไปแช่ในกาละมัง เติมน้ำสะอาดให้ท่วมเส้นไหม แช่นาน 15 นาที P18_RLH20004 2. นำหม้อต้ม ความจุมากกว่า 30 ลิตร เติม น้ำสะอาดลงไปในหม้อต้มจำนวน 30 ลิตรต่อไหม 1 กิโลกรัม 3. รอให้น้ำร้อน ประมาณ 70 องศาเซลเซียส (สังเกตผิวน้ำในหม้อเกิดไอน้ำ) ค่อยๆเติม โซเดียมคาร์บอเนต หรือโซดาแอช จำนวน 60 กรัม ลงไป (โซดาแอช 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) คนให้สารเคมีละลาย ขั้นตอนนี้อาจใส่น้ำยาล้างจานลงไปด้วยเล็กน้อย เพื่อช่วยให้การฟอกไหมสะอาดยิ่งขึ้น 4. นำเส้นไหมดิบจำนวน 1 กิโลกรัม ลงไปในหม้อต้ม กดไหมให้จมน้ำ จนเส้นไหมมีลักษณะเปียกน้ำและพองตัว 5.ต้มไหมจนกระทั่งน้ำเดือด ประมาณ 1 ชั่วโมง หมั่นกลับพลิกเส้นไหมเรื่อยๆ เพื่อให้ไหมถูกฟอกอย่างทั่วถึง P19_RLH20004 6. นำเส้นไหมขึ้นมาวางทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที เพื่อให้เย็นตัวลง นำไปล้างน้ำอุ่น ประมาณ 2-3 นาที บิดหมาดๆ และกระตุกเส้นไหม 2-3 ครั้ง P20_RLH20004 7 . นำเส้นไหมไปล้างในน้ำธรรมดา 2 ครั้ง ๆ ละ 2-3 นาที บิดหมาดๆ กระตุกเส้นไหม 2-3 ครั้ง นำไปตากให้แห้ง P21_RLH20004 วิธีการสกัดสีน้ำย้อมจากเปลือกต้นมะขาม P22_RLH20004 1.นำเปลือกต้นมะขามเปรี้ยว 9 กิโลกรัม มาสับให้มีขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว ใส่ลงไปในหม้อ P23_RLH20004 2. เติมน้ำสะอาดลงไป 27 ลิตร ต้มที่อุณหภูมิ 80 – 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา1 ชั่วโมง 30 นาที P24_RLH20004 3. กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาเฉพาะส่วนน้ำสีไปย้อม วิธีการสกัดสีน้ำย้อมจากเมล็ดมะขาม P25_RLH20004 1. คัดเลือกเมล็ดมะขามสดที่มีลักษณะสมบูรณ์ ไม่มีแมลงเจาะจำนวน 4 กิโลกรัม ใส่ลงในหม้อ P26_RLH20004 2. เติมน้ำสะอาดจำนวน 1-2 ลิตรลงไป แช่น้ำเป็นเวลา 1 คืน (เมล็ดมะขาม1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 3 ลิตร) 3. เติมน้ำสะอาดลงไปอีก 16 ลิตร(1 กิโลกรัมเมล็ดมะขาม ต่อน้ำ 4 ลิตร)ต้มที่อุณหภูมิ 80 – 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา1 ชั่วโมง 30 นาที หมั่นคนเป็นระยะๆ P27_RLH20004 4. กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาเฉพาะส่วนน้ำสีไปย้อม วิธีการย้อมไหมด้วยน้ำย้อมจากเปลือกต้นมะขาม P28_RLH20004 1.นำเส้นไหมที่ฟอกกาวแล้วจำนวน1 กิโลกรัม ไปแช่ในน้ำสะอาด เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นบิดให้แห้งนำไปผึ่งลมพอหมาด ประมาณ 5-10 นาที P29_RLH20004 2. ชั่งสารส้ม 100 กรัม ใส่ลงไปในน้ำย้อม20 ลิตร คนให้ละลายเข้ากัน (หากย้อมปริมาณมาก ไม่ควรใส่เกิน 100 กรัม) P30_RLH20004 3. นำเส้นไหม จากข้อ 1 ลงไปย้อมเป็นเวลา1 ชั่วโมง 30 นาที ควรกลับ-พลิกไหมทุกๆ15 นาที P31_RLH20004 4. เมื่อครบเวลาที่กำหนด นำไหมที่ย้อมแล้วออกมาพักให้เย็นพอบีบได้ ทำการบีบน้ำย้อมออกจากไหมแล้วนำไปผึ่งลมพอหมาด (ประมาณ 15 นาที) P32_RLH20004 5. นำไปล้างด้วยน้ำสะอาดจนกระทั่งน้ำล้างใส P33_RLH20004 6. นำไปผึ่งลมให้แห้ง ภายหลังย้อมไหมด้วยเปลือกต้นมะขามและเมล็ดมะขามแล้ว หากต้องการให้ไหมมีสี ที่เข้มข้นและมีความเงางามมากขึ้นสามารถนำไหมไปแช่ในน้ำด่างได้ P34_RLH20004 1.ชั่งขี้เถ้าจำนวน 250 กรัม ใส่ในถุงผ้าขาว P35_RLH20004 2. เทน้ำสะอาดจำนวน 500 มิลลิลิตร ลงในถุงผ้าให้น้ำไหลผ่านขี้เถ้า ใช้ภาชนะสะอาด รองเก็บน้ำขี้เถ้าไว้ P36_RLH20004 3. นำน้ำขี้เถ้าที่ผ่านการกรองไปเทในถุงผ้าที่มีขี้เถ้าอีกครั้ง ทำการกรองซ้ำไปมาประมาณ5 รอบ จะได้น้ำขี้เถ้าที่มีฤทธิ์เป็นด่าง P37_RLH20004 4. นำน้ำขี้เถ้าไปกรองด้วยกระดาษกรอง1 ครั้ง (ตรวจวัดค่า pH โดยค่า pHจะต้องไม่ต่ากว่า 11.3) P38_RLH20004 1. นำเส้นไหมที่ย้อมด้วยเปลือกต้นมะขามหรือเมล็ดมะขามที่ล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วมาแช่ในน้ำด่างเป็นเวลา 5-15 นาที (ไม่ควรแช่น้ำด่างนานเกินไป จะทำให้เส้นไหมเปราะ) P39_RLH20004 2. บีบน้ำออก นำไปผึ่งลมพอหมาดจากนั้นนำไป ล้างด้วย น้ำสะอาดและผึ่งลมให้แห้ง P40_RLH20004 P41_RLH20004 P42_RLH20004 P43_RLH20004 P44_RLH20004
นางสาวอรนุช นาคชาติ
(หัวหน้าโครงการ)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
186 หมู่ 1 ถนนสุรินทร์-ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000.
เบอร์ติดต่อ: 08 2495 4440