การใช้ชีวภัณฑ์บาซิลลัสเมกาทีเรียมควบคุมโรคกาบใบแห้งในข้าว

2,647 VIEW

องค์ความรู้

การใช้ชีวภัณฑ์บาซิลลัสเมกาทีเรียมควบคุมโรคกาบใบแห้งในข้าว

สรุปองค์ความรู้

โรคข้าว หมายถึง ความผิดปกติที่พืชแสดงออก สาเหตุของโรคเกิดจากสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต อาจจะเกิดขึ้นเดี่ยวๆ หรือเกิดร่วมกันก็ได้ และสามารถทำให้ข้าวแสดงอาการผิดปกติได้ชัดเจน ทั้งทางใบ ลำต้น กาบใบ รวงข้าว และเมล็ดข้าว สิ่งที่ทำให้เกิดโรคจะเรียกว่าเชื้อโรคซึ่งเกิดจาก เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ไฟโตพลาสมา และไส้เดือนฝอย โรคกาบใบแห้งของข้าว เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani ลักษณะเป็นแผลสีเขียวปนเทา แผลมีขนาดใหญ่เป็นด่างคล้ายขี้กลาก ใบและกาบใบข้าวแห้ง พบในระยะต้นข้าวแตกกอ ช่วงที่มีความชื้นสูง เชื้อกระจายได้เร็ว การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูกาลทำนา

P1_RLH10013
ภาพ วงจรโรค 
P2_RLH10013 P3_RLH10013 
ภาพ อาการโรค

การแพร่กระจาย เม็ดขยายพันธุ์ (sclerotia) ที่เชื้อราสร้างขึ้นสามารถมีชีวิตรอดแม้ไม่มีต้นข้าว โดยอาศัยในตอซังวัชพืช และดิน P4_RLH10013

P4_RLH10013
ภาพ แสดงวงจรของโรค
การควบคุมโรคโดยชีววิธี 
P5_RLH10013 P6_RLH10013 
ภาพ เชื้อบาซิลลัส เมกาทีเรียม

การควบคุมโรคกาบใบแห้งข้าวด้วยการใช้ชีวภัณฑ์จากเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์คือ บาซิลลัส เมกาทีเรียม Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 

P7_RLH10013
ภาพ 
วิธีการใช้ สามารถใช้ได้ทันที หรือขยายเชื้อก่อนนำไปใช้ โดยนำชีวภัณฑ์ 20 กรัมต่อน้ำสะอาดต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ลิตร เขย่าให้เข้ากันเลี้ยงไว้ 2 วัน หลังจากนั้นนำไปใช้ได้ ใช้ชีวภัณฑ์ขยาย 1 ลิตร แช่เมล็ดข้าว 10 กิโลกรัม หากเมล็ดมีการคลุกสารเคมี ให้ใช้ชีวภัณฑ์ขยายพ่นหรือแช่ต้นกล้า ก่อนปักดำ ระยะแตกกอ ใช้ชีวภัณฑ์ขยาย 1 ลิตร ผสมน้ำ 40 ลิตร พ่นบนต้นข้าว ถ้ามีอาการโรคกาบใบแห้ง ใช้ชีวภัณฑ์ขยาย 1 ลิตร ผสมน้ำ 40 ลิตร พ่นบนต้นข้าวทุกๆ 7-15 วัน เพื่อควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว ควรพ่นชีวภัณฑ์บาซิลลัส ในช่วงเวลาเช้าหรือบ่ายที่มีแดดอ่อนๆ หรือตอนเย็น และบริเวณแปลงต้องมีความชื้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อการใช้ชีวภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์สูงสุด
P8_RLH10013
ภาพ ชีวภัณฑ์แกรนูล P8_RLH10013

P9_RLH10013
ภาพ
ชีวภัณฑ์ขยาย 
สนใจติดต่อขอรับข้อมูลได้ที่: ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โทรศัพท์/โทรสาร 02-942-8252-3 และศูนย์ฯ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร. 074-286-228, 074-286-186 โทรสาร 074-558-814

ช่องทางการติดต่อ

รศ.ดร.อัจฉรา เพ็งหนู (หัวหน้าโครงการ)
15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
เบอร์ติดต่อ: 0 7428 6228 และ 0 7428 6186 โทรสาร 0 7455 8814
E-mail: ashara.p@psu.ac.th

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด  ดาวน์โหลด 2