การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนากระบวนการเพาะเลี้ยงเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae

1,864 VIEW

องค์ความรู้

การผลิตเชื้อราเขียวเมธาไรเซียมแอนนิโซพลิ

สรุปองค์ความรู้

เชื้อราเขียวเมธาไรเซียมแอนนิโซพลิ ใช้ป้องกันกำจัดหนอนและแมลง เช่น ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ปลวก หนอนกระทู้คอรวง หนอนกอข้าว หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ หนอนหนังเหนียว และแมลงวันผลไม้
P1_RLH10012
ภาพ การแยกเชื้อราเขียว

P2_RLH10012
ภาพ การผลิตหัวเชื้อสปอร์แขวนลอย 

การเพิ่มปริมาณเชื้อราเขียวในข้าวพันธุ์เสาไห้
หุงข้าวให้กึ่งดิบกึ่งสุก จำนวน 200 กรัมต่อถุง ทิ้งไว้ให้เย็น นำสารแขวนลอยสปอร์ ความเข้มข้น 1x108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ใส่ลงในถุงข้าว ถุงละ 0.1 มิลลิลิตร ปิดปากถุง เขย่าแล้วเจาะรูเพื่อให้อากาศแก่เชื้อรา บ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ในห้องที่อบฆ่าเชื้อ นาน 7 วัน นำไปใช้ในสภาพไร่ได้
P3_RLH10012
ภาพ การผลิตเชื้อราเขียว

การนำเชื้อราเขียวไปใช้ในสภาพไร่ การราดเชื้อ นำถุงข้าวที่มีเชื้อราเขียวปกคลุม ความเข้มข้น 1.75x109 สปอร์ต่อกรัม ตัดเปิดปากถุง เทใส่กระป๋องในอัตรา 50 ถุงต่อไร่ หรือ 10 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมกับน้ำ 100 ลิตร เทสารจับใบลงไป ใช้ไม้คนให้สปอร์หลุดออกจากเมล็ดข้าว กรองเอาเมล็ดข้าวออก นำน้ำไปราดลงในแปลง แล้วทำการกลบท่อนพันธุ์ทันที เนื่องจากแสงแดดมีผลโดยตรงต่อสปอร์ของเชื้อรา การโรยเชื้อ นำถุงข้าวที่มีเชื้อราเขียวปกคลุม ความเข้มข้น 1.75x109 สปอร์ต่อกรัม ตัดเปิดปากถุง เทใส่กระป๋องในอัตรา 50 ถุงต่อไร่ หรือ 10 กิโลกรัมต่อไร่ โรยลงในแปลงพร้อมท่อนพันธุ์ โดยโรยให้ติดพื้นดิน เพราะว่าสปอร์ของเชื้อราอาจฟุ้งกระจายได้ แล้วทำการกลบท่อนพันธุ์ทันที เนื่องจากแสงแดดมีผลโดยตรงต่อสปอร์ของเชื้อรา 
P4_RLH10012
ภาพ  การนำเชื้อราเขียวไปใช้ในแปลงอ้อย

ช่องทางการติดต่อ

วิวัฒน์ เสือสะอาด (หัวหน้าโครงการ)
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
เบอร์ติดต่อ: 0 3428 1265 และ 0 3435 1886 โทรสาร 0 3435 1881
E-mail: agrwis@ku.ac.th

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด