การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนากระบวนการผลิตแมลงช้างปีกใส Mallada basalis (Walker) (Neuroptera: Chrysopidae) ในเชิงพาณิชย์

1,891 VIEW

องค์ความรู้

การเพาะเลี้ยงแมลงช้างปีกใส

สรุปองค์ความรู้

แมลงช้างปีกใส เป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญ มีประโยชน์ในการช่วยกำจัดศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ เพลี้ยอ่อน ไรแดง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ไข่ของแมลงศัตรูพืชต่างๆ และหนอนผีเสื้อขนาดเล็ก เป็นต้น แมลงช้างปีกใสระยะตัวอ่อนเท่านั้นที่มีพฤติกรรมการเป็นตัวห้ำ ทำลายเหยื่อโดยใช้ฟันกรามที่โค้งยาวยื่นไปด้านหน้า ทำลายเหยื่อ และดูดกินของเหลวภายในตัวเหยื่อจนเหยื่อตายแล้วนำเศษซากเหยื่อไว้ด้านหลังลำตัว สำหรับตัวเต็มวัยกินน้ำหวานและน้ำเป็นอาหาร ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยไม่ทำลายพืช
ระยะไข่ ไข่วางกลุ่มหรือฟองเดี่ยวๆ มีก้านชูสีขาวใส ไข่รูปร่างยาวรี มีสีเขียวอ่อน เมื่อใกล้ฟักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเมื่อฟักเป็นตัวอ่อนแล้วจะมีสีขาว ระยะไข่มีอายุ 2-3 วัน

P1_RLH10011
ภาพ ไข่แมลงช้างปีกใส

ระยะตัวอ่อน ตัวอ่อนมี 3 วัย เมื่อฟักออกจากไข่เป็นวัย 1 เป็นตัวห้ำทันทีตัวอ่อนมีกราม โค้งยาวยื่นไปด้านหน้าเพื่อใช้ทำลายเหยื่อ เมื่อทำลายเหยื่อแล้วนำเศษซากของเหยื่อขึ้นไปไว้ด้านบนลำตัว ตัวอ่อนกินเพลี้ยอ่อนถั่วได้ 9-315 ตัว ระยะตัวอ่อนมีอายุ 7-10 วัน

P2_RLH10011
ภาพ ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส

ระยะดักแด้
ดักแด้ภายนอกรูปร่างกลม เมื่อผ่าดูภายในมีลักษณะเป็นระยางค์ ไม่ยึดติดกับลำตัว ตัวอ่อนวัย 3 สร้างเส้นไยสีขาวปกคลุมลำตัวแล้วเข้าดักแด้อยู่ภายใน ตัวอ่อนเข้าดักแด้ติดกับใบพืช ระยะดักแด้อายุ 9-10 วัน P4_RLH10011

P3_RLH10011
ภาพ ดักแด้แมลงช้างปีกใส

ตัวเต็มวัย ตาสีแดง หนวดแบบเส้นด้าย ปีกสีเขียวอ่อนใส มีเส้นปีกจำนวนมาก เมื่อเกาะนิ่งหุบปีกเป็นรูปหลังคา ลำตัวมีสีเขียวอ่อน มีปล้องท้องจำนวน 9 ปล้อง บริเวณส่วนท้องของเพศเมียมีรูปร่างกลมมน ปลายท้องแหลม ส่วนท้องของเพศผู้มีรูปร่างเพรียว ปลายท้องตัดตรง ขนาดตัวเพศเมีย ใหญ่กว่าเพศผู้ เพศเมียวางไข่ได้ 418-552 ฟอง เพศผู้มีอายุ 15-39 วัน และเพศเมียมีอายุ 35-71 วัน วิธี
P4_RLH10011
ภาพ ตัวเต็มวัยแมลงช้างปีกใส

การใช้แมลงช้างปีกใส
1.ปลดปล่อยในระยะไข่ของแมลงช้างปีกใส M. basalis ใช้ควบคุมศัตรูพืชขนาดเล็กในแปลงพืชผักและผลไม้ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือ คะน้า ส้ม เมล่อน เป็นต้น อัตราการใช้ 5,000 ตัว/ไร่ ควรปลดปล่อยช่วงเช้าหรือเย็น (ช่วงที่มีแสงแดดอ่อน)

P5_RLH10011
P6_RLH10011
P7_RLH10011
P8_RLH10011
ภาพ การปลดปล่อยแมลงช้างปีกใสระยะไข่

2. ปลดปล่อยในระยะตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส M. basalis ใช้ควบคมศัตรูพืชขนาดเล็กเช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ไรแดง เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ในแปลงพืชไร่ เช่น มันสาปะหลัง อ้อย เป็นต้น อัตราการใช้ 200 ตัว/ไร่ ควรปลดปล่อยช่วงเช้าหรือเย็น (ช่วงที่มีแสงแดดอ่อน)

P9_RLH10011
P10_RLH10011
ภาพ การปลดปล่อยแมลงช้างปีกใสระยะตัวอ่อน

ช่องทางการติดต่อ

วิวัฒน์ เสือสะอาด (หัวหน้าโครงการ)
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
เบอร์ติดต่อ: 0 3428 1265 และ 0 3435 1886 โทรสาร 0 3435 1881
E-mail: agrwis@ku.ac.th

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด