การพัฒนากระบวนการผลิตมวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ Wollastoniella rotunda Yasunaga & Miyamoto และ Wollastoniella parvicuneis Yasunaga (Hemiptera: Anthocoridae) ในเชิงพาณิชย์

1,328 VIEW

องค์ความรู้

การเพาะเลี้ยงมวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ Wollastoniella

สรุปองค์ความรู้

มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ
ไข่: จะวางเป็นฟองเดี่ยว ในเส้นก้านใบมะเขือ รูปร่างคล้ายคนโทน้ำ โดยมีปลายข้างหนึ่งโผล่พ้นก้านใบ กว้าง 0.2 มม. ยาว 0.44 มม. อายุนาน 6-7 วัน
P1_RLH10010

ภาพ ไข่มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ 

ตัวอ่อนวัยที่ ๑ รูปร่างยาวรี สีแดง บอบบาง มีพฤติกรรมการเป็นตัวห้ำทันที กว้าง 0.23 มม. ยาว 0.5 มม. อายุนาน 2-3 วัน กินเพลี้ยไฟได้ 1-6 ตัว
P2_RLH10010
ภาพ ตัวอ่อนวัยที่ ๑ มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ 

ตัวอ่อนวัยที่ ๒ รูปร่างกลมมนมากขึ้น สีแดงเข้มขึ้น กว้าง 0.32 มม. ยาว 0.64 มม. อายุนาน 2-3 วัน กินเพลี้ยไฟได้ 2-7 ตัว 

P3_RLH10010
ภาพ ตัวอ่อนวัยที่ ๒ มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ 

ตัวอ่อนวัยที่ ๓ เริ่มเห็นตุ่มปีกโผล่ออกมาจากส่วนอกปล้องที่ ๒ กว้าง 0.42 มม. ยาว 0.77 มม. อายุนาน 1-4 วัน กินเพลี้ยไฟได้ 1-8 ตัว

P4_RLH10010
ภาพ ตัวอ่อนวัยที่ ๓ มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ 

ตัวอ่อนวัยที่ ๔ รูปร่างกลมมากขึ้น มองเห็นตุ่มปีกชัดเจน กว้าง 0.54 มม. ยาว 0.91 มม. อายุนาน 2-4 วัน กินเพลี้ยไฟได้ 5-10 ตัว
P5_RLH10010
ภาพ ตัวอ่อนวัยที่ ๔ มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ 

ตัวอ่อนวัยที่ ๕ ตุ่มปีกมีขนาดใหญ่มาก ลำตัวกลมมน สีแดงเข้มและว่องไวมาก กว้าง 0.75 มม. ยาว 1.16 มม. อายุนาน 4-6 วัน กินเพลี้ยไฟได้ 7-15 ตัว

P6_RLH10010
ภาพ ตัวอ่อนวัยที่ ๕ มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ 

ตัวเต็มวัย ลำตัวมันวาวสะท้อนแสง สีน้ำตาลดำ ตัวผู้ กว้าง 0.8 มม. ยาว 1.24 มม. อายุนาน 4-14 วัน ตัวเมีย กว้าง 0.88 มม. ยาว 1.42 มม. อายุนาน 5-28 วัน กินเพลี้ยไฟได้ 23-289 ตัว

P7_RLH10010
ภาพ ตัวเต็มวัยมวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ 


การนำไปใช้ประโยชน์ ใช้ควบคุมเพลี้ยไฟในแปลงหน่อไม้ฝรั่ง P8_RLH10010 P9_RLH10010

ช่องทางการติดต่อ

วิวัฒน์ เสือสะอาด (หัวหน้าโครงการ)
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
เบอร์ติดต่อ: 0 3428 1265 และ 0 3435 1886 โทรสาร 0 3435 1881
E-mail: agrwis@ku.ac.th

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด  ดาวน์โหลด 2