การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนากระบวนการผลิตแตนเบียนหนอน Cotesia flavipes (Cameron) (Hymenoptera: Braconidae) ในเชิงพาณิชย์

2,775 VIEW

องค์ความรู้

การเพาะเลี้ยงแตนเบียนหนอนโคทีเซีย

สรุปองค์ความรู้

แตนเบียนหนอน Cotesia flavipes (Cameron) 
เป็นแตนเบียนระยะหนอนที่สำคัญของหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย ตัวเต็มวัยตัวเมียจะเริ่มวางไข่ในวันแรกหลังจากฟักออกมาจากดักแด้ โดยวางไข่เข้าไปข้างในตัวหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย ซึ่งหนอนที่ถูกเบียนนี้จะกินอาหารน้อยและเคลื่อนที่ช้าลง ระยะฟักไข่ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 วัน การเจริญเติบโตของแตนเบียน C. flavipes ตั้งแต่ระยะไข่ถึงระยะก่อนเข้าดักแด้ประมาณ 12-14 วัน ระยะก่อนเข้าดักแด้ประมาณ 1-2 วัน ระยะดักแด้ประมาณ 5-7 วัน ดักแด้แต่ละตัวจะอยู่ติดกันเป็นกลุ่ม และมีขนอ่อน ๆ สีขาวพันอยู่รอบ ๆ ตัวหนอน ตัวเต็มวัยตัวผู้มีอายุประมาณ 3-4 วัน ตัวเต็มวัย ตัวเมียมีอายุประมาณ 2-3 วัน แตนเบียนตัวเมียสามารถเข้าทาลายหนอนเจาะลาต้นและยอดอ้อยได้ทุกระยะ วงชีวิตตั้งแต่ระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัย ประมาณ 20-22 วัน

P1_RLH10008
ภาพ วงจรชีวิตแตนเบียนหนอนโคทีเซีย 
หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยที่พบในประเทศไทย 5 ชนิด ได้แก่ Chilo sacchariphagus หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยลายจุดใหญ่ Chilo infuscatellus หนอนเจาะลาต้นและยอดอ้อยลายแถบ  Chilo tumidicostalis หนอนเจาะลาต้นและยอดอ้อยลายจุดเล็ก Sesamia inferens หนอนเจาะลาต้นและยอดอ้อยสีชมพู Scirpophaga excerptalis หนอนเจาะยอดอ้อยสีขาว 

P2_RLH10008
ภาพ  Chilo sacchariphagus หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยลายจุดใหญ่

P3_RLH10008
ภาพ Chilo infuscatellus หนอนเจาะลาต้นและยอดอ้อยลายแถบ

P4_RLH10008
ภาพ Chilo tumidicostalis หนอนเจาะลาต้นและยอดอ้อยลายจุดเล็ก 

P5_RLH10008
ภาพ
Sesamia inferens หนอนเจาะลาต้นและยอดอ้อยสีชมพู

P6_RLH10008
ภาพ
Scirpophaga excerptalis หนอนเจาะยอดอ้อยสีขาว 

วิธีการใช้แตนเบียนหนอนโคทีเซีย เพื่อการควบคุมหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยโดยชีววิธีในสภาพไร่ ระยะดักแด้ของแตนเบียนหนอนโคทีเซียจะถูกบรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งเป็นถ้วยพลาสติกใส ภายในถ้วยมีกระดาษไขทาน้ำผึ้งสำหรับเป็นอาหารของตัวเต็มวัย เก็บไว้ให้แตนเบียนฟักจากระยะดักแด้เป็นตัวเต็มวัย ปล่อยให้ผสมพันธุ์แล้วเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

P7_RLH10008   
ภาพ  แตนเบียนหนอนโคทีเซียที่บรรจุอยู่ในถ้วยพลาสติกใสเพื่อรอการปลดปล่อย
การปลดปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย ทำในช่วงเช้า (ก่อน 8.00 น.) หรือเย็น (หลัง 16.00 น.) ทำการปลดปล่อยแตนเบียนหนอนหลังจากอ้อยเริ่มแตกหน่อ จำนวน 150-200 ตัวต่อไร่ ทุกเดือน โดยนำบรรจุภัณฑ์ไปแขวนไว้ที่ใบอ้อยบริเวณที่พบการทำลายของหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย
P8_RLH10008
ภาพ การปลดปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย

ช่องทางการติดต่อ

วิวัฒน์ เสือสะอาด (หัวหน้าโครงการ)
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
เบอร์ติดต่อ: 0 3428 1265 และ 0 3435 1886 โทรสาร 0 3435 1881
E-mail: agrwis@ku.ac.th

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด  ดาวน์โหลด 2