เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารสำหรับโภชนบำบัดเพื่อการผลิตระดับอุตสาหกรรม

1,181 VIEW

องค์ความรู้

การแปรรูปอาหารสำหรับโภชนบำบัด

สรุปองค์ความรู้

โภชนบำบัด (diet therapy) เป็นอาหารช่วยรักษา หรือบรรเทาอาการของโรค รวมทั้งป้องกันภาวะทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นระหว่างที่ได้รับการรักษาโรค ปกติแล้วนักกำหนดอาหาร หรือโภชนากรของโรงพยาบาล จะเป็นผู้จัดสูตรอาหารให้เหมาะสมตามความต้องการสารอาหารและพลังงานของผู้ป่วยในรูปของอาหารที่สามารถเคี้ยวกลืนปกติ และอาหารที่ให้ทางสายอาหาร อย่างไรก็ตามการเตรียมอาหารบำบัดโรคนอกโรงพยาบาลที่ต้องให้ผู้ป่วยวันละ 5-6 ครั้ง รวมทั้งอาหารผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้สารอาหารและพลังงานตามต้องการ เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากขึ้นสำหรับชีวิตประจำวัน ปัจจุบันประเทศไทย นำเข้าอาหารผู้ป่วยดังกล่าวในรูปอาหารผงและอาหารเหลวที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นก้าวหน้าในการแปรรูป เพื่อคงคุณสมบัติด้านความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารที่จะให้พลังงาน และสารอาหารตามต้องการ อาหารดังกล่าวมีราคาสูงและผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงได้หากมีความต้องการระยะยาว

P1_RLH10007

ภาพ  เทคโนโลยี/ กระบวนการ เทคโนโลยีต้นแบบในการผลิตอาหารบำบัดโรค

เทคโนโลยีต้นแบบในการผลิตอาหารบำบัดโรค ที่สามารถใช้ในการผลิตอาหารเหลวที่ให้ทางสายให้อาหาร อาหารอ่อน อาหารโปรตีนสูง อาหารใยอาหารสูง และสามารถใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ได้แก่ ข้าว มะพร้าว ถั่วเขียว มันสำปะหลัง นม ไข่ไก่ ถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว มะระ บัวบก กระเจี๊ยบเขียว เป็นแหล่งของสารอาหารเชิงซ้อนและพลังงานหลัก รวมถึง ใยอาหารและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของอาหารระดับจุลภาคและปฏิกิริยาระหว่างสารอาหารระดับโมเลกุล ให้มีเนื้อสัมผัส การไหล การย่อย และปลดปล่อยสารอาหารรวมถึงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้เร็ว-ช้า รวมถึงถูกดูดซึมโดยเซลล์ที่ผนังลำไส้เล็กแตกต่างกัน เพื่อให้อาหารธรรมดาที่ถูกจัดอย่างถูกหลักโภชนาการ เป็นอาหารที่เหมาะสมกับโรคและความต้องการทางโภชนาการของผู้บริโภค มีอายุการเก็บและการวางจำหน่ายของอาหารนานขึ้น
สำหรับผู้ที่มีความต้องการอาหารเฉพาะ 

P2_RLH10007
การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารผสมอาหาร (ingredient technology) และเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร (food process technology) สำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ที่ต้องการอาหารโภชนบำบัด และผู้ต้องการพลังงานอย่างรวดเร็วและโปรตีนสูง เช่น นักกีฬา ที่ใช้วัตถุดิบหลักในประเทศนี้ สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และการเข้าถึงอาหารสำหรับโรคเรื้อรังหรืออาหาร เพื่อสุขภาพในราคาที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถซื้อหาได้จากค่าครองชีพเฉลี่ยในปัจจุบันP3_RLH10007

ช่องทางการติดต่อ

รศ.ดร.ปาริฉัตร หงสประภาส (หัวหน้าโครงการ)
50 ถ.งามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เบอร์ติดต่อ: 0 2562 5043 โทรสาร: 0 2562 5021
E-mail: fagiprh@ku.ac.th

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

ดาวน์โหลด