การผลิตผ้าทอจากเส้นใยผักตบชวา
ผักตบชวา ถือวัชพืชเป็นส่วนที่ไม่ได้นำมาไปใช้ประโยชน์ พืชน้ำล้มลุก อายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ และจากการศึกษาพบว่า ผักตบชวาสามารถดูดไนโตรเจนได้ทั้ง 3 ชนิดแต่ในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ผักตบชวาสามารถดูดอินทรีย์ไนโตรเจนได้สูงกว่าไนโตรเจนในรูปอื่น ๆ คือ ประมาณ 95% ขณะที่ไนเตรทไนโตรเจน และแอมโมเนียไนโตรเจน จะเป็นประมาณ 80% และ 77% ตามลำดับ และที่สำคัญที่สุดพบว่า ในส่วนของสำต้นประกอบด้วยเส้นใยยาวจำนวนมาก เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าและพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสิ่งทอ จึงมีแนวคิดในการนำผักตบชวามาพัฒนาเป็นเส้นใยธรรมชาติสู่ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ขั้นตอนในการทำ ดังนี้ 1. แยกสกัดเส้นใยผักตบชวาด้วยวิธีการทางเชิงกล โดยคัดเลือกผักตบชวาที่มีความยาวของลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร จากนั้นนำมาแยก สกัดเส้นใยผักตบชวาด้วยเครื่องแยกเส้นใยแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยการป้อนเข้าเครื่องแยกทีละ 2 ต้น โดยใช้หลักการหมุนขูด เป็นการขูดแบบเส้นตรง เพื่อขูดเปลือกลำต้นชั้นนอกของผักตบชวาออก เส้นใยที่ได้จะเป็นเส้นใยแบบยาว จากนั้นนำเส้นใยผักตบชวาผึ่งลมให้แห้ง 2. นำเส้นใยผักตบชวาไปผ่านกระบวนการทำความสะอาดด้วยการฟอกและเครื่อง Carding จากนั้นนำไปปั้นเส้นด้ายแบบ Open-end Spinning และเพื่อลดสมบัติเส้นใยที่มีความหยิกงอให้เหมาะสมกับการปั่นเส้นด้าย จึงต้องปั่นเส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยผักตบชวากับเส้นใยเรยอน ทำให้เส้นด้ายที่ผลิตออกมา มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดี และมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ๆ 3. การผลิตผืนผ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยผักตบชวา โดยผ้าทอผักตบชวาลายพิเศษ ผลิตด้วยเครื่องผ้าแบบ Rapier ใช้เส้นด้ายผักตบชวา Bane yarn 10 Ne เป็นเส้นด้ายพุ่ง ส่วนเส้นด้ายยืนเป็นเส้นด้ายพอลีเอสเตอร์ 4. ออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอสร้างสรรค์จากเส้นใยผักตบชวา นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผักตบชวา ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเครื่องประกอบการแต่งกาย เช่น เสื้อผ้าผักตบชวา หมวกผักตบชวา และร้องเท้าผักตบชวา หรือนำไปออกแบบและตัดเย็บผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ เช่น ผ้าปูโต๊ะ
ผศ. ดร.สาคร ชลสาคร (หัวหน้าโครงการ)
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
เบอร์ติดต่อ: 086 618 4639