กิจกรรม

กิจกรรม "การรณรงค์สร้างการรับรู้และนำองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคลองเปรมประชากร" ณ วัดหลักสี่ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะคณะอนุกรรมการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน ภายใต้โครงการจิตอาสาเพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิตบนวิถีแห่งความพอเพียง จัดกิจกรรมการรณรงค์สร้างการรับรู้และนำองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคลอง ณ ณ วัดหลักสี่ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในการดูแล รักษา และพัฒนาคลอง
5982 view
15 มี.ค. 66
อ่านต่อ

วช. นำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ณ บางกระเจ้า สมุทรปราการ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ภายใต้ “โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส มหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ณ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดย พลตรี สุรเดช ประเคนรี รองแม่ทัพน้อยที่ 1 เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมฯ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวความเป็นมาของกิจกรรมฯ และนางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ประธานกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ และ ดร.มงคลชัย สมอุดร รองประธานกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ร่วมเป็นเกียรติในกิจกรรมฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวน 145 คน วช. นำผลงานวิจัยและนวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” ของ ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ได้รับทุนจาก วช. มาสาธิตวิธีการใช้เครื่องรวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยหมักและดินปลูกจากวัชพืชและผักตบชวา และการปลูกพืช “การปรุงดิน: การทำดินไม่ดีให้กลายเป็นดินดีภายใน 14 วัน” รวมทั้ง “การปลูกผักในถุงดำแล้วนำไปเลี้ยงต่อที่บ้าน: ปลูกแบบง่ายๆ แต่ให้ได้อย่างมืออาชีพ” โดย นายสุเทพ กุลศรี เครือข่ายการควบคุมโดยชีววิธี ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ วช. ให้แก่ชุมชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อสร้างเป็นต้นแบบในการผลิตปุ๋ยหมักและดินปลูกต้นไม้จากวัชพืชและผักตบชวา เพื่อนำไปใช้ในการเกษตรและจำหน่ายเป็นการเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนด้วยนวัตกรรมที่ช่วยกำจัดวัชพืชและผักตบชวา และเป็นการพัฒนาลำน้ำพร้อมนำไปสู่การใช้ประโยชน์และพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดำเนินชีวิตภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
01 ก.ค. 66

วช. จัดกิจกรรมการนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ต่อเนื่อง)

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ภายใต้ “โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ในวันที่ 25 มิถุนายน 2562 2562 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยมี พลโท ธรรมนูญ วิถี แม่ทัพน้อยที่ 1 เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวต้อนรับ เวลา 09.00 กิจกรรมดังกล่าวจัดเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน และทำให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษามีรายได้จากนำวัชพืชและผักตบชวามาทำปุ๋ยหมักหรือดินปลูก เพื่อนำไปใช้ในการเกษตรและจำหน่าย ซึ่งส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในคลองและลำน้ำดีขึ้น และผลักดันให้เกิดเป็นต้นแบบชุมชนในการจัดการกับวัชพืชและผักตบชวาในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนและขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป การดำเนินงานอาศัยข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการวัชพืชและผักตบชวา ที่สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบตั้งแต่การนำมาผลิตเป็นเครื่องจักสาน งานหัตถกรรม การใช้เพื่อการบำบัดน้ำ การใช้เพื่อผสมเป็นอาหารสัตว์ การนำมาหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ตลอดจนการนำมาทำเป็นวัสดุปรับปรุงดินและปุ๋ย แต่กิจกรรมการนำวัชพืชและผักตบชวามาแปรรูปในการทำปุ๋ยหมักหรือดินปลูก เป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ดีและยั่งยืนที่สุด สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ วช. ได้นำนวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” ผลงานวิจัยของ ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. และ“ระบบคลังความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาลำน้ำ” บนเว็บไซต์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (www.krw.nrct.go.th) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนสามารถนำความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาลำน้ำและชีวิต แก้ไขปัญหาลำน้ำได้ตรงความต้องการของชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มรายได้ให้ประชาชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
25 มิ.ย. 66

วช. จัดกิจกรรมการนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สืบสานพระราชดำริ พระราชปณิธาน และพระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. พัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. พัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เกิดขึ้นจากการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและศูนย์อำนวยการใหญ่ จิตอาสาพระราชทาน 904 ซึ่งได้น้อมนำพระราชดำริ พระราชปณิธาน และพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มาแปลงเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีโครงการย่อยที่เกิดขึ้นรวม 8 โครงการ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาลำน้ำ ลำคลองและคุณภาพชีวิตของชุมชนริมน้ำ, โครงการผลิตแผงโซล่าเซลล์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและสำหรับสำรองไฟกรณีฉุกเฉินให้แก่ประชาชน, โครงการผลิตเครื่องกำจัดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 และ PM 10 และการรับรองมาตรฐานสิ่งประดิษฐ์ภายใต้โครงการ, โครงการลดและคัดแยกขยะของชุมชน, โครงการนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน, โครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ, การเพิ่มสวนหย่อม/สวนสาธารณะให้แก่ชุมชน, และโครงการจิตอาสาดับไฟป่าเฉพาะกิจ ทั้งนี้ เพื่อสืบสานพระราชดำริและต่อยอดโครงการดังกล่าว วช. จึงได้จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ภายใต้ “โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ในวันที่ 20 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตำบลโพธิ์แตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี พลโท ธรรมนูญ วิถี แม่ทัพน้อยที่ 1 เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม และศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวต้อนรับ เวลา 09.00 น. กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้น ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดแรกในการดำเนินกิจกรรม เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน และทำให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษามีรายได้จากนำวัชพืชและผักตบชวามาทำปุ๋ยหมักหรือดินปลูก เพื่อนำไปใช้ในการเกษตรและจำหน่าย ซึ่งส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในคลองและลำน้ำดีขึ้น และผลักดันให้เกิดเป็นต้นแบบชุมชนในการจัดการกับวัชพืชและผักตบชวาในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนและขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ​การดำเนินงานอาศัยข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการวัชพืชและผักตบชวา ที่สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบตั้งแต่การนำมาผลิตเป็นเครื่องจักสาน งานหัตถกรรม การใช้เพื่อการบำบัดน้ำ การใช้เพื่อผสมเป็นอาหารสัตว์ การนำมาหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ตลอดจนการนำมาทำเป็นวัสดุปรับปรุงดินและปุ๋ย แต่กิจกรรมการนำวัชพืชและผักตบชวามาแปรรูปในการทำปุ๋ยหมักหรือดินปลูก เป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ดีและยั่งยืนที่สุด ​สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ วช. ได้นำนวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” ผลงานวิจัยของ ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับทุนสนันสนุนจาก วช. และ“ระบบคลังความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาลำน้ำ” บนเว็บไซต์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (www.krw.nrct.go.th) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนสามารถนำความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาลำน้ำและชีวิต แก้ไขปัญหาลำน้ำได้ตรงความต้องการของชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มรายได้ให้ประชาชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
20 มิ.ย. 66

สปน. ร่วมกับ วช. ร่วมเสวนา สานใจ สานพลัง พลิกฟื้นประวัติศาสตร์วิถีชุมชน คนคลองเปรมสู่สายน้ำและลำคลอง

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเสวนา สานใจสานพลัง พลิกฟื้นประวัติศาสตร์วิถีชุมชน คนคลองเปรมสู่สายน้ำและลำคลอง ณ วัดดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 โดยมีนายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง) ประธานคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้พิจารณาเห็นชอบโครงการจิตอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการสร้างการรับรู้การพัฒนาลำน้ำ/ลำคลอง ซึ่ง สปน. เป็นหน่วยงานหลัก และมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมรับผิดชอบ เพื่อให้การสร้างการรับรู้การพัฒนาลำน้ำ/ลำคลอง เป็นไปอย่างกว้างขวาง จึงได้จัดการประชุมเสวนา "สานใจ สานพลัง พลิกฟื้นประวัติศาสตร์วิถีชีวิตชุมชน คนคลองเปรมสู่สายน้ำและลำคลอง" ขึ้น โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเสวนา เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ สร้างการรับรู้ และการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแล รักษา พัฒนาลำน้ำคูคลองร่วมกันของชุมชนที่อยู่ใกล้วัด และตระหนักรู้ในเรื่องราวประวัติศาสตร์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณี ของชุมชนคนคลองเปรม รวมถึงช่วยกันดูแล รักษา พัฒนาคลอง พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ เพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่สำคัญในการให้ทุนวิจัย และนวัตกรรมหลักของประเทศ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงฯ รวมทั้ง การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ สำหรับการดูแล รักษา พัฒนาคลอง และพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยนวัตกรรมการแปรรูปวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน วช. ได้จัดทำคู่มือถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการทำปุ๋ยหมัก และดินปลูกจากวัชพืช และผักตบชวา ให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และสร้างเป็นศูนย์ต้นแบบในการผลิตปุ๋ยหมัก และดินปลูกต้นไม้จากวัชพืชและผักตบชวา ด้วยเครื่องผลิตปุ๋ยหมัก เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช และผักตบชวา อันจะเป็นการสร้างโอกาส สร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ วช. ยังได้พัฒนาระบบคลังความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาลำน้ำ บนเว็บไซต์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (www.krw.nrct.go.th) เพื่อเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำมารถนำไปใช้ในการพัฒนาลำน้ำและชีวิต แก้ไขปัญหาลำน้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตและรายได้ ได้ตรงความต้องการของชุมชน
30 พ.ค. 66
1 2