กิจกรรม

กิจกรรม "การรณรงค์สร้างการรับรู้และนำองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคลองเปรมประชากร" ณ วัดหลักสี่ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะคณะอนุกรรมการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน ภายใต้โครงการจิตอาสาเพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิตบนวิถีแห่งความพอเพียง จัดกิจกรรมการรณรงค์สร้างการรับรู้และนำองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคลอง ณ ณ วัดหลักสี่ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในการดูแล รักษา และพัฒนาคลอง
6137 view
15 มี.ค. 67
อ่านต่อ

สปน. ร่วมกับ วช. ขับเคลื่อนกิจกรรมรณรงค์สร้างการรับรู้และนำองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคลอง

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะคณะอนุกรรมการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน ภายใต้โครงการจิตอาสาเพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิตบนวิถีแห่งความพอเพียง จัดกิจกรรมการรณรงค์สร้างการรับรู้และนำองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคลอง ณ วัดเชียงรากน้อย และวัดเปรมประชากร โดยมี นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด และนายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กล่าวรายงาน ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการของ วช. โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ให้การต้อนรับ กิจกรรมในครั้งนี้ วช. นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสีย จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก เป็นการผลิตปุ๋ยหมักอย่างง่ายสามารถผลิตใช้ได้เองในครัวเรือนและแปลงเกษตรโดยนำเศษใบไม้เศษอาหารเหลือมาทำเป็นปุ๋ยหมักแล้วนำไปปลูกต้นไม้ และนวัตกรรมระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพที่ใช้ตัวกลางฟิล์มชีวภาพ 2 ขั้นตอนแบบประหยัดพื้นที่สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากวัดโรงเรียนและชุมชนริมน้ำ ซึ่งช่วยบำบัดน้ำเสียให้สะอาดก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะและยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ทำให้ช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำและช่วยประหยัดทรัพยากรน้ำให้แก่ประเทศ รวมถึงการพัฒนาระบบคลังความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาลำน้ำบนเว็บไซต์ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ www.krw.nrct.go.th เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับลำน้ำและชีวิต นอกจากนี้ยังได้นำนวัตกรรม “เครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM10 และ PM2.5 (DustBoy)” เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายจากฝุ่นละออง สามารถเฝ้าระวังและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องในการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานานเมื่อค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียและเจ็บป่วยทางด้านสุขภาพของชุมชนได้ โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทาง https://www.cmuccdc.org และ ttps://www.facebook.com/cmu.ccdc
15 ก.พ. 67

กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ ฯ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลดปัญหาฝุ่นละออง โดยนวัตกรรมจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ ณ จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. โดยคณะกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ให้ดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด้วยนวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” ในการผลิตปุ๋ยหมักและดินปลูกต้นไม้จากวัชพืชและผักตบชวา ซึ่งศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ภาค 3 เห็นว่านวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” สามารถนำไปขยายผลในกลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ เช่น เกษตรกรเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ข้าวโพดและอ้อย) เพื่อช่วยลดปัญหาหมอกควันจากการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืช โดยการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืชมาแปรรูปในการทำปุ๋ยหมักและดินปลูก และอาหารเลี้ยงสัตว์ โดยจังหวัดกำแพงเพชรเป็นพื้นที่เป้าหมายแรกที่มีวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรจำนวนมาก ที่จะดำเนินการเพื่อลดปัญหาหมอกควัน วช. ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ภาค 3 จังหวัดกำแพงเพชร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผา” ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 โดย พลตรี วีรยุทธ กวยะปาณิก เลขานุการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ภาค 3 เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวต้อนรับ และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวความเป็นมาของกิจกรรม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 250 คน โดย ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทีมวิจัยร่วมเป็นวิทยากร ทั้งนี้ วช. จะดำเนินการจัดกิจกรรมลักษณะนี้อีก 4 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร และตาก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีรายได้เสริมจากการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยหมัก อาหารสัตว์ และดินปลูกต้นไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืช และช่วยลดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากการเผา รวมทั้งเกิดเป็นต้นแบบในการจัดการกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืชอย่างถูกวิธี เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินกิจกรรมอย่างยั่งยืน
07 พ.ย. 67

สืบสานพระราชดำริขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน ณ จังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำนวัตกรรมจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ จังหวัดอุทัยธานี  วช. ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. โดยคณะกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจ กลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ให้ดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ณ สำนักงานเทศบาลเมืองอุทัยธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดย พลตรี วีรยุทธ กวยะปาณิก เลขานุการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ภาค 3 ผู้แทนศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวความเป็นมา และร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี กล่าวต้อนรับ โดยครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ทั้งสิ้นจำนวน 210 คน และ วช. จะดำเนินการจัดกิจกรรมลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้กำหนดจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 8 จังหวัด ซึ่งจังหวัดอุทัยธานีเป็นจังหวัดสุดท้ายในการจัดกิจกรรมนี้ วช. ได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาลำน้ำที่พร้อมนำไปสู่การใช้ประโยชน์และพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดำเนินชีวิตภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และ วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มาสาธิตวิธีการใช้เครื่อง และให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยหมักและดินปลูกจากวัชพืชและผักตบชวา ให้แก่ชุมชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อสร้างเป็นต้นแบบในการผลิตปุ๋ยหมักและดินปลูกต้นไม้จากวัชพืชและผักตบชวา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรและจำหน่ายเป็นการเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนด้วยนวัตกรรมที่ช่วยกำจัดวัชพืชและผักตบชวา
10 ก.ย. 67

วช. สืบสานพระราชดำริ ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ของประชาชน ณ จังหวัดนครสวรรค์

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำนวัตกรรมจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา ภายใต้โครงการ จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ วช. ได้รับมอบหมายจาก ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. โดยคณะกรรมการ จิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติให้ดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 โดย พลตรี วีรยุทธ กวยะปาณิก เลขานุการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ภาค 3 เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกล่าวความเป็นมา และนายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวต้อนรับ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปีนี้ วช. ได้จัดกิจกรรม ในหลายจังหวัดตามภูมิภาค และจังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่ 7 ในการจัดกิจกรรม โดย วช. จะดำเนินการจัดกิจกรรมลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง วช. ได้ ให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาลำน้ำที่พร้อมนำไปสู่การใช้ประโยชน์และพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดำเนินชีวิตภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และ วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มาสาธิตวิธีการใช้เครื่อง และให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยหมักและดินปลูกจากวัชพืชและผักตบชวา ให้แก่ชุมชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อสร้างเป็นต้นแบบในการผลิตปุ๋ยหมักและดินปลูกต้นไม้จากวัชพืชและผักตบชวา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการเกษตรและจำหน่ายเป็นการเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนด้วยนวัตกรรมที่ช่วยกำจัดวัชพืชและผักตบชวา
02 ก.ย. 67
1 2