โครงการจิตอาสาเพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิต
บนวิถีแห่งความพอเพียง เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน
วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขและประเทศมีความมั่นคงโดยมีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานเป็นพื้นที่ชุมชนลำน้ำทั้งประเทศ ดำเนินโครงการโดยบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินโครงการจิตอาสาเพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิต บนวิถีแห่งความพอเพียง เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน ทั้งในการใช้พื้นที่ เครื่องมืออุปกรณ์ องค์ความรู้ต่างๆ ร่วมกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยคณะอนุกรรมการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนดำเนินการขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาเพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิต บนวิถีแห่งความพอเพียง เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชนด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนริมลำน้ำ โดยการสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน เช่น การแปรรูปผักตบชวา วัชพืช ขยะ มาใช้ประโยชน์ในชุมชนและเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน รวมทั้งกำหนดแนวทางการสนับสนุน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนเป็นศูนย์เรียนรู้ฐานเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยองค์ความรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับลำน้ำพร้อมนำไปสู่การใช้ประโยชน์ภายในศูนย์การเรียนรู้ฐานเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดำเนินชีวิตภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง และชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาลำน้ำ การคัดกรององค์ความรู้ด้านวิจัยและนวัตกรรมที่มีความพร้อมในการนำเข้าคลังความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาลำน้ำ รวมทั้งการพัฒนาระบบคลังความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาลำน้ำ
คลังความรู้งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาลำน้ำ เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับลำน้ำ ไว้บนเว็บไซต์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
คณะอนุกรรมการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน
- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) กำหนดแนวทาง และวิธีขับเคลื่อนโครงการจิตอาสา
เพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิต บนวิถีแห่งความพอเพียง เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน
ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และกรอบแนวทางการดำเนินโครงการที่กำหนดไว้
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขับเคลื่อนการทำงานของคณะอนุกรรมการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้
ด้านการพัฒนา วิจัย และนวัตกรรมเพื่อชุมชนริมน้ำ บนวิถีแห่งความพอเพียง รวมถึงจัดทำคลังความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับลำน้ำ
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สนับสนุนนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ในการกำจัดผักตบชวาและแก้ไขปัญหาลำน้ำ เช่น เรือกำจัดผักตบชวาแบบอัดก้อน เรือกำจัดขยะแบบสายพานลำเลียง เรือลอกตะกอนแบบตีกวนและดูดกลับ (เรือดูดเลน) เครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอยใต้น้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และเรือโกยขยะหนักเพื่อเสริมการทำงานของเรือดูดเลน
- หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) ดำเนินการสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผักตบชวา เช่น การใช้เรือเก็บผักตบชวา/วัชพืช/ขยะ
- กรมชลประทาน (ชป.) ดำเนินการบริหารจัดการลำน้ำอย่างบูรณาการ พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เกิดความสมดุล เช่น การใช้ชีววิธีในการควบคุมผักตบชวา
การพัฒนาแหล่งต้นน้ำ และการสร้างฝายมีชีวิต
- กรมพัฒนาที่ดิน (พด.) ดำเนินการวิจัย และพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ำ การผลิตและใช้เทคโนโลยี ชีวภาพในการแปรรูปผักตบชวา เช่น การผลิตปุ๋ยหมัก และปุ๋ยอัดเม็ด รวมถึงวางแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกสวนป่าปอดของชุมชน
- กรมวิชาการเกษตร (กวก.) ดำเนินการวิจัยและสนับสนุนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพืช และแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายแล้วพัฒนาเป็นอาชีพ เช่น การผลิตพืชผักปลอดภัย การแปรรูปสินค้าเกษตร และการนำผักตบชวามาประยุกต์ใช้ในชุมชน
- กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพิ่มประสิทธิภาพ และรักษาระบบนิเวศของแหล่งน้ำ
- กรมการปกครอง (ปค.) ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการบริหารการปกครองท้องที่ ในด้านการดูแลบำรุงรักษาทางน้ำ และสิ่งแวดล้อม
- 10.กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ส่งเสริมและสนับสนุนการอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ รวมถึงสนับสนุนการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชนและโครงการจิตอาสาพัฒนาลำน้ำ
- กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ.) ออกแบบรูปแบบอาคารโรงงานหรือศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นแหล่งในการนำผักตบชวาหรือวัชพืชมาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และสร้างรายได้ให้กับประชาชน
- 12.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) สนับสนุน ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษากับชุมชนในการดำเนินโครงการจิตอาสาพัฒนาลำน้ำ
- 13.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศึกษาวิจัย พัฒนา ออกแบบ ถ่ายทอดไปสู่การใช้ประโยชน์ โดยการแปรรูปผักตบชวาที่มีคุณภาพ เช่น โครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นดินดำจากชีวมวล และโครงการการผลิตก๊าซชีวภาพพลังงานเพื่อชุมชน
- 14.สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (ส.สจ.ท.) ศูนย์กลางประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน ปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการตามแผนงานการแก้ไขปัญหาลำน้ำ
- 15.สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษากับชุมชนในการดำเนินโครงการจิตอาสาพัฒนาลำน้ำ
- 16.สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย (สอบต.) ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และ
ให้คำปรึกษากับชุมชนในการดำเนินโครงการจิตอาสาพัฒนาลำน้ำ